หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / Carbon Credit ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

Carbon Credit ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

กลับหน้าหลัก
21.07.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 253

Carbon Credit ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า

ในแต่ละปีจะมีการผลิตหนังสัตว์ในปริมาณ 12.5 ล้านตัน และขนสัตว์ 1 ล้านตัน สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง โดยเฉพาะเมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ดำเนินการในขนาดของอุตสาหกรรม (industrial scale) ส่งผลให้ระบบนิเวศเกิดความเสื่อมโทรม เช่น ในระดับฟาร์ม ‘หนังวัว’ มีการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูง อีกทั้งการเลี้ยงสัตว์ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก ทำให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมต้องสูญเสียไป   หนังสัตว์ที่ใช้ทำหนังเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ แต่ก็เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ให้กำไรและเป็นที่ต้องการในตัวของมันเอง ขั้นตอนการแปรรูปหนังดิบให้เป็นกระเป๋าถือและสินค้าหนังอื่น ๆ ก่อให้เกิดมลพิษขั้นตอนการฟอกหนังและการตกแต่งสำเร็จมีการใช้โลหะหนัก เช่น โครเมียม ซึ่งเปนอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและต่อแหล่งน้ำรอบข้างโรงงาน

จากข้อมูลของ Collective Fashion Justice กลุ่มผู้สนับสนุนแฟชั่นที่ไม่ได้ผลิตจากสัตว์ และแบรนด์ต่าง ๆ พยายามนำวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทน เช่น เสื้อแจ็กเก็ตหนังเทียมทำจากพลาสติกโพลิยูริเทน ซึ่งปล่อยตาร์บอนไดออกไซด์ 9.9 กโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เทียบกับ 176 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าจากเสื้อแจ็กเก็ตหนังดั้งเดิม แต่ปัญหา คือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกมีราคาถูก

อุตสาหกรรมแฟชั่น (รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า) จำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงครึ่งหนึ่งอีก 10 ปีหลังจากนี้ เพื่อจะบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนตามข้อตกลงปารีส เมื่อปี พ.ศ.2558 (ปี 2015) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีทางเลือกเกิดขึ้นมากมาย เช่น วัสดุเหมือนหนังทำจากเห็ด หรือ Mycelium ซึ่งเป็นเส้นใยจากเห็ดราและกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มบริษัทแฟชั่น โดย Material Innovation Initiative ได้ประมาณการว่า ตลาดค้าส่งของวัสดุเชิงนวัตกรรมที่เป็นทางเลือกของเส้นใยจากสัตว์ เช่น หนังที่ทำจากพืช จะมีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ.2569 (ปี 2026) 

รายละเอียดเพิ่มเติมตามไฟล์แนบ_'Carbon Credit ในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า'

สนับสนุน โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

เรียบเรียง : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)

ภายใต้โครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมแฟชั่น (อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ) ประจำปี พ.ศ.2566

Leather Shoes Profile, อุตสาหกรรม, เครื่องหนังและรองเท้า, Carbon Credit, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66