ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Sourcemap กล่าวถึงกฎหมาย UFLPA: ความสำเร็จในอนาคตของสาขาแฟชั่นขึ้นอยู่กับทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์
คุณ Leonardo Bonanni ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Sourcemap ให้สัมภาษณ์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในสาขาเสื้อผ้า หลังรัฐบาลสหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมาย Uyghur Forced Labour Prevention Act หรือ UFLPA (กฎหมายการห้ามนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าจากเขตซินเจียงในจีน ด้วยเหตุผลการใช้แรงงานบังคับและการละเมิดสิทธิมนุษยชน)
ที่มา: Shutterstock
คุณ Leonardo Bonanni ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Sourcemap กล่าวว่า การเก็บข้อมูลของซัพพลายเออร์ทุกรายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain mapping) จะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ในขณะที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังปราบปรามเพื่อขจัดแรงงานบังคับให้หมดไป
ในขณะที่บริษัทแฟชั่นหลายแห่งตระหนักถึงความต้องการที่มีมากขึ้น การเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีและบริการของ supply chain mapping ยังค่อนข้างช้า ทั้งนี้ คุณ Bonanni อธิบายว่า “ก่อนที่จะมีการประชุมเกี่ยวกับกฎหมาย Uyghur Forced Labour Prevention Act (UFLPA) หรือกฎหมายการห้ามนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าจากเขตซินเจียงในจีน ด้วยเหตุผลการใช้แรงงานบังคับและการละเมิดสิทธิมนุษยชนว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างไร สำหรับแบรนด์และผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าและรองเท้าในสหรัฐฯ”
วิธีที่ Sourcemap จะช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น
Sourcemap ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับซัพพลายเออร์วัตถุดิบ ในการระบุว่าซัพพลายเออร์ที่ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน จะสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ย้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดได้อย่างไร ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าในแต่ละรายที่ใช้บริการซอฟต์แวร์ของ Sourcemap สามารถค้นพบซัพพลายเออร์รายใหม่ ๆ ได้มากกว่า 50,000 ราย
Sourcemap ทำงานเหมือนสื่อสังคมออนไลน์ โดยการที่ซัพพลายเออร์กับซัพพลายเออร์จะถูกเชื่อมโยงระหว่างกันและเชิญซัพพลายเออร์ต่อไปของแต่ละคน และสามารถลงลึกไปถึง 5, 6 หรือ 7 ชั้น จนพบแหล่งที่มาของอุปทานเดิม (the original supply source)
คุณ Bonanni ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากเทียบกับปี 2020 พบว่า ขั้นตอนในปัจจุบันมีความรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีกฎหมายใหม่ ๆ ที่กำลังออกมา ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำ supply chain mapping ในระดับหนึ่ง
ซึ่งลูกค้า Sourcemap สามารถค้นพบถึงซัพพลายเออร์ของตนเป็นใคร และเริ่มทำงานด้วยกันผ่านทางซอฟต์แวร์ อีกทั้งพบมาตรฐานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และปฏิบัติให้แน่ใจว่าทุกคนในห่วงโซ่อุปทานเคารพกฎหมาย แต่ชณะเดียวกันก็ดำเนินการตามที่มาตรฐานกำหนดด้วย หากข้อมูลหายไปหรือมีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็สามารถปรับปรุงส่วนดังกล่าวในห่วงโซ่อุปทานได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามาตรฐานและการดำเนินการมีความถูกต้องในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน
คุณ Bonanni กล่าวว่า รูปแบบการจัดทำ supply chain mapping นี้ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ เพราะมีการจัดทำมาตั้งแต่ปี 2016 เมื่อสหรัฐฯ เริ่มบังคับใช้กฎหมาย Section 307 ที่ห้ามการนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าที่ผลิตจากแรงงานบังคับ อย่างไรก็ตาม UFLPA เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมาย Section 307 และมีการเร่งดำเนินการจากหน่วยงานศุลกากร (Customs and Border Protection) ของสหรัฐฯ
“สินค้ามูลค่ากว่า 1.5 พันล้านเหรียญฯ ถูกยึดได้ที่พรมแดน โดยถูกสงสัยว่าผลิตโดยใช้แรงงานบังคับ นั่นหมายความว่า บริษัทในสหรัฐฯ และในยุโรป กำลังมีการออกกฎหมายที่เหมือนกัน กำลังจัดทำ supply chain mapping ของตนเป็นครั้งแรก ซึ่งแต่เดิมทำในวงจำกัดกับห่วงโซ่อุปทานของวัตถุดิบยั่งยืนที่มีขนาดเล็กกว่า แต่ในปัจจุบัน ต้องทำกับวัตถุดิบทั้งหมดที่ซื้อจากซัพพลายเออร์ทั่วโลก”
คุณ Bonanni กล่าวว่า ผลลัพธ์ก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นั่นคือ การที่วัสดุที่ไม่ได้รับการรับรองว่ามีความยั่งยืน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดทัศนวิสัยของแบรนด์ที่ไม่เข้าใจว่า ห่วงโซ่อุปทานของตนที่แท้แล้วมีความซับซ้อนเพียงใด ทั้งนี้ การตรวจสอบพันธมิตรที่เป็นซัพพลายเออร์โดยตรงทำได้ง่าย แต่การตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานทางอ้อมทำได้ยากกว่า
การกำจัดพันธมิตรที่เป็นซัพพลายเออร์แฝง
ความจริงแล้วในส่วนของกฎหมาย UFLPA หากบริษัทถูกจับได้ว่าส่วนประกอบ เช่น ฝ้าย ผลิตในซินเจียง ภายใต้กฎหมาย UFLPA ไม่เพียงแต่สินค้าแปรรูปที่ผลิตในมณฑลซินเจียงเท่านั้นที่จะถูกยึด
บริษัทที่มีซัพพลายเออร์ระดับ 2 และ 3 ในห่วงโซ่อุปทานมีการกระจุกตัวมาก มีคอขวดมากและมีความเสี่ยงมาก อีกทั้งการชะงักงันทั่วโลก เช่น COVID-19 อาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดการสะดุดได้อย่างที่ผ่านมา ดังนั้น บริษัทหลายรายกำลังมีความคิดใหม่ที่จะผลิตให้มีความหลากหลาย และพันธมิตรซัพพลายเออร์ใดที่สามารถปรับขยายได้เมื่อบริษัทมีการปรับขยายธุรกิจ
การตัดสินใจส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะให้ความสำคัญถึงข้อกำหนดและกฎระเบียบเป็นสำคัญ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาของ Sourcemap นั้น ใช้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นตัวจักรขับเคลื่อนที่สำคัญ เพื่อให้ธุรกิจดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับบริษัทที่สหรัฐฯ และยุโรป ห้ามให้ทำธุรกิจด้วย ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงเริ่มเปลี่ยนและมีความฉลาดขึ้นในการมีฐานซัพพลายเออร์ที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทที่ได้เริ่มเก็บข้อมูลซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานของตนก่อนที่กฎหมาย UFLPA จะออกมา พบว่า จะต้องใช้เวลา 2-3 เดือน สำหรับขั้นตอนการค้นพบซัพพลายเออร์ทางอ้อมและการจัดการกับสถานการณ์ เช่น การจัดหาสินค้าดังกล่าวจากที่อื่น เป็นต้น
และบริษัทต่าง ๆ ตระหนักอย่างชัดเจนว่า การทำ supply chain mapping ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป
คุณ Bonanni กล่าวว่า จนถึงปี 2020 การจัดทำ supply chain mapping เป็นกิจกรรมเพื่อความยั่งยืนอย่างเดียว ก่อนที่จะเป็นการดำเนินการที่ต้องปฏิบัติตาม และตั้งแต่นั้นมา Sourcemap ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า
และในส่วนของการตรวจสอบแรงงานบังคับ พบว่า บริษัทประมาณ 12,000 แห่ง ได้ลงทะเบียนในแพลทฟอร์มของ Sourcemap ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อหนึ่งปีมาแล้ว และได้รวบรวมซัพพลายเออร์กว่า 2 ล้านราย และได้เข้าร่วมเครือข่ายของ Sourcemap ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 2020)
การบังคับใช้กฎหมาย UFLPA เป็นตัวกำหนดห่วงโซ่อุปทานในอนาคต
คุณ Bonanni ระบุว่า สหรัฐฯ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงแรงงานบังคับว่ากำลังเป็นปัญหาระดับโลก และอาจส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ไม่เพียงแต่แบรนด์จะต้องตัดจีนออกจากห่วงโซ่อุปทานของตนและหยุดจัดหาจากจีนเท่านั้น แต่แบรนด์ยังต้องประสบกับปัญหาจากการที่สินค้าผลิตในประเทศที่มีแรงงานบังคับ และถูกลักลอบเข้าสหรัฐฯ ผ่านทางอีกประเทศหนึ่ง
การเก็บข้อมูลของประเทศที่ซัพพลายเออร์โดยตรงที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ เพราะจะเกิดการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หน่วยงานศุลกากรสหรัฐฯ การตระหนักในเรื่องดังกล่าว และกำลังมองหาการขนส่งสินค้าที่ผ่านประเทศที่สาม โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายกับการนำเข้าจากประเทศที่สาม เพราะการนำเข้าจากมณฑลซินเจียงในจีนมีไม่มากแล้ว ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเก็บข้อมูลซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานจากทั่วโลก
กฎหมาย UFLPA นับเป็นความท้าทายของแบรนด์และผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ และถูกยอมรับในเชิงบวก เพราะผู้คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้ผลิตมีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยหน่วยงานศุลกากรของสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่เข้มงวดเรื่องแรงงานบังคับเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญในเรื่องการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าไปยังอเมริกาเหนือ จะต้องผลิตภายใต้มาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานของอเมริกาเหนือ แบรนด์และผู้ค้าปลีกเสื้อผ้ากำลังกดดันซัพพลายเออร์ของตนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น การถูกบังคับใช้ที่มีเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมต่างก็มีความโปร่งใสเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
คุณ Bonanni มั่นใจว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายในปัจจุบัน อยู่ในตำแหน่งของการแข่งขันทางธุรกิจที่เป็นบวก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่อุตสาหกรรมถูกกดดันและต้องเผชิญกับปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อุตสาหกรรมมีการปรับตัวตลอด Supply chain นั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในกลุ่มสาขาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หลังการออกกฎหมาย UFLPA
สิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา คือ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเริ่มเก็บข้อมูลซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่อุปทานของตนอย่างจริงจัง โดยตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ธุรกิจวางสู่ตลาด ตั้งแต่วัตถุดิบ ฟาร์ม ไปจนถึงเหมือง
ในขณะที่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมีการเริ่มต้นที่ดี จากโปรแกรมความยั่งยืนที่เน้นวัตถุดิบที่ได้รับการรับรองและที่ผ่านการรีไซเคิล กฎหมาย UFLPA ทำให้บริษัทมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริง ในการตระหนักถึงการดำเนินการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด และห่วงโซ่อุปทานที่ขยายออกไป
และบริษัทต่าง ๆ ถูกกำหนดให้เก็บข้อมูลทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สังเคราะห์หรือทางการเกษตร และเชื่อมั่นว่า เสื้อผ้าและสิ่งทอ “มีการเริ่มต้นที่ดี” ในส่วนของการปฏิบัติตามกฎหมาย (หากเทียบกับยานยนต์และวัสดุหมุนเวียนอื่น) ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในอนาคต และความโปร่งใส (Transparency) ถือเป็นความปกติใหม่ (New normal) ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน หากบริษัทหรือธุรกิจใดที่มีความโปร่งใสมากกว่าจะเข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น และมีห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง
-------------------------------------------------
ที่มา : www.just-style.com
เรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ