หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 92 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส ฉบับที่ 92 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566)

กลับหน้าหลัก
24.04.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 211

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายไตรมาส 

ฉบับที่ 92 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

เศราฐกิจ-ท่องเที่ยวฟื้นดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงสุดในรอบ 37 เดือน

ผู้บริโภคมั่นใจเศรษฐกิจฟื้น-ท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ดันความเชื่อมั่นบริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 63

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมีนาคม 2566

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมีนาคม 2566

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมีนาคม 2566 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 555.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 374.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.1 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 181.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 467.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 310.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 157.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.2 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 87.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมีนาคม 2566

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมีนาคม 2566

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมีนาคม 2566 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 172.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 119.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.5 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 52.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 236.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 177.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.6 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 59.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.5 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566

ภาพที่ 1 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 5,486.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 4,125.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,216.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 16.76

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

งานแสดงสินค้าผ้าผืนของยุโรป ประจำฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2023/24

งานแสดงสินค้าผ้าผืนของยุโรป ประจำฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว ปี 2023/24 จัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของสภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน  ซึ่งมีผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย โดยเป็นผลสืบเนื่องจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระหว่างช่วงปี 2020-2021 รวมถึงวิกฤตความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (รัสเซีย-ยูเครน) ที่เป็นความท้าทายล่าสุด ที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดหาวัตถุดิบ ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้บางบริษัทต้องปิดตัวลงหรือต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นนอกยุโรป อีกทั้งยังมีการเรียกร้องให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายของยุโรปดำเนินการลดผลกระทบและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ไมโครไฟเบอร์ และมลภาวะของพลาสติกในมหาสมุทร เป็นต้น  

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

9 เทรนด์เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมแฟชั่นในปี 2023

อุตสาหกรรมแฟชั่นนับเป็นหนี่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2030 แต่กลับเป็นที่น่าประหลาดใจที่การดำเนินงานของแฟชั่นในปัจจุบันไม่แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงงานฝีมือราคาถูกในหลายประเทศยังหาง่าย อย่างไรก็ตาม จากความกังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับค่าแรงที่ไม่ยุติธรรม มลภาวะ และความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภค นำไปสู่การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น ลูกค้าคาดหวังว่าจะเข้าถึงเทรนด์ล่าสุด ทันทีที่มีการจัดงานแสดงแฟชั่น จากสื่อออนไลน์ ขณะเดียวกันลูกค้ารุ่นใหม่ก็แสวงหาความโดดเด่นเหนือฝูงชน ด้วยผลิตภัณฑ์เฉพาะตามความต้องการและความชอบของตน  นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและราคาถูก (mass-produced) หรือเสื้อผ้า fast-fashion ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมน้อยลง

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

“บริษัทยักษ์ใหญ่จับมือร่วมกันผลิตแอมโมเนียจากเสื้อผ้าใช้แล้ว” ลด CO2 ได้ร้อยละ 80 ในกระบวนการผลิต

บริษัท ITOCHU Corporation และบริษัท Resonac Holdings Corporation ได้ร่วมมือกันเพื่อผลิตแอมโมเนียจากเสื้อผ้าใช้แล้วที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์จากสารเคมี ซึ่งจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับการผลิตแบบเดิมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต โดยบริษัท Resonac มีแผนที่จะผลิตแอมโมเนียทั้งหมดจากขยะในปี 2030 เป็นอย่างเร็ว การร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นการเชื่อมปัญหาขยะจากเสื้อผ้าใช้แล้วของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกับการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization)

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

สถาบันฯ สิ่งทอ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชมจากสจล.

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมด้วยคุณทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ คุณสุดา ยังให้ผล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม และคุณวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ให้การต้อนรับคณะเยี่ยมชม นำโดย ผศ.ดร.สามารถ ดีพิจารณ์ คณบดี วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในโอกาสเยี่ยมชมสถาบันฯ 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.92, เดือนเมษายน-มิถุนายน, ปี 2566, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66