9 เทรนด์เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมแฟชั่นในปี 2023
อุตสาหกรรมแฟชั่นนับเป็นหนี่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2030 แต่กลับเป็นที่น่าประหลาดใจที่การดำเนินงานของแฟชั่นในปัจจุบันไม่แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงงานฝีมือราคาถูกในหลายประเทศยังหาง่าย อย่างไรก็ตาม จากความกังวลมากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับค่าแรงที่ไม่ยุติธรรม มลภาวะ และความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภค นำไปสู่การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น ลูกค้าคาดหวังว่าจะเข้าถึงเทรนด์ล่าสุด ทันทีที่มีการจัดงานแสดงแฟชั่น จากสื่อออนไลน์ ขณะเดียวกันลูกค้ารุ่นใหม่ก็แสวงหาความโดดเด่นเหนือฝูงชน ด้วยผลิตภัณฑ์เฉพาะตามความต้องการและความชอบของตน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและราคาถูก (mass-produced) หรือเสื้อผ้า fast-fashion ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมน้อยลง
ในขณะที่เทรนด์ดังกล่าวดำเนินต่อไป จึงเป็นการยากที่บริษัทและแบรนด์ต่าง ๆ จะยังคงผลิตเสื้อผ้าเป็นจำนวนมากล่วงหน้าหลายเดือน โดยไม่มีหลักประกันว่าจะขายได้เท่าใด ในยุคสมัยใหม่ที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ แบรนด์ที่ก้าวตามทันและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้มากเท่าใดก็จะเป็นผู้ชนะ
นักออกแบบและแบรนด์หลายรายนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ เพื่อผลักดันให้ก้าวข้ามการผลิต การตลาด และการสามารถสวมใส่ได้ ในขณะที่โลกของความเป็นจริงของลูกค้าจะเข้าไปเกี่ยวโยงกับโลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญญาประดิษฐ์ สู่การอุบัติของการทำธุรกิจซื้อขายออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile commerce) การพิมพ์สามมิติ (3D printing) และบล็อกเชน จึงได้มีการรวบรวมรายการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ ในวงการแฟชั่นในปัจจุบันดังนี้
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แบรนด์ต่าง ๆ ได้ใช้ AI ในการปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้าของตน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูล เพิ่มการขาย คาดการณ์เทรนด์ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง ทั้งนี้ Chatbots และทัชสกรีนถูกนำไปใช้ในร้านเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไปในเว็บไซด์ของแบรนด์แฟชั่นแล้วไม่พบเทคโนโลยีแช็ท AI ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ทั้งนี้เทคโนโลยี AI ได้แก่ อัลกอริธึมที่สืบหาการเดินทางของลูกค้าที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการ ถึงแม้เครื่องมือการให้บริการทางเทคโนโลยีของลูกค้าจะมีอนาคตสดใส แต่การพยากรณ์แนวโน้ม และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานก็เป็นช่องทางที่สำคัญมากสำหรับ AI เช่น การสืบค้นสินค้าคงคลังตามเวลาจริง (real time) กลายมามีความสำคัญสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ เพราะช่วยประหยัดเวลาและทำให้การบริหารจัดการคลังสินค้าและการดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ หากเรารวมการสืบค้นสินค้าคงคลังเข้ากับเครื่องมือการพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของ AI เพื่อพยากรณ์เทรนด์ แบรนด์ก็จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ แทนที่จะพึ่งวิธีดั้งเดิมในการพยากรณ์เทรนด์แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องใช้ทั้งการสังเกตและการเก็บข้อมูลจากนักออกแบบแฟชั่น ผู้เสนอเทรนด์ และอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งนี้ แบรนด์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ซึ่งทำให้สามารถวางแผนสไตล์และจำนวนที่ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็ว
ยกตัวอย่าง STITCH FIX แบรนด์แฟชั่นของสหราชอาณาจักร ได้คิดค้นเครื่องมือการวางแผนตู้เสื้อผ้าอัตโนมัติสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ โดยได้มีการบันทึกการซื้อของลูกค้าสตรี และแนะนำให้รู้จักในตู้เสื้อผ้าเสมือนจริง แพลทฟอร์มดังกล่าวยังช่วยให้สตรีสร้างรูปโฉมจากตู้เสื้อผ้า และแม้แต่เลือกจากร้านกว่า 10,000 แห่ง
นอกจากนี้ แพลทฟอร์มการให้บริการส่วนบุคคล TRUEFIT ใช้เครื่องมือความเหมาะสมออนไลน์ ช่วยให้ผู้ใช้พบความเหมาะสมกับแบรนด์ต่าง ๆ และสไตล์ใหม่ ๆ ในตลาด
Online fit engine by TRUEFIT
บริษัทเทคโนโลยีสำหรับตลาดค้าปลีกที่เล็กกว่าอื่น ๆ ก็กำลังปิดช่องว่างให้แบรนด์ต่าง ๆ Edited บริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ให้บริการซอฟท์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสด เพื่อให้ลูกค้าขายปลีกของตนสามารถเข้าถึงข้อมูลการตลาดที่สมบูรณ์ทันที ทั้งนี้ ช่วยให้แบรนด์อย่าง Boohoo, Tommy Hilfiger และ Marni สามารถสังเคราะห์ตลาดโลกได้ภายในเสี้ยววินาที
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ Intelligence Node ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถติดตามเทรนด์ตามเวลาจริง ลูกค้าสามารถพิมพ์คำสำคัญเฉพาะ รูปแบบของผู้ค้นหา ระดับราคา และอื่น ๆ ทั้งนี้ แพลทฟอร์มการค้นหาของ Intelligence Node ที่ใช้ AI ทำให้ผู้ใช้ติดตามสิ่งที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ของตนหรือใกล้เคียงที่สุด ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นคู่แข่ง
Intelligence Node: an AI-driven search discovery platform
การสตรีมสดวิดีโอกลายมามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คน จากงานอีเวนท์เสมือนจริงจนถึงความเหมาะสม การซื้อสินค้าทางอินสตาแกรมได้เข้าไปแทนที่ตลาดหลังโควิดในปี 2022 อีกทั้ง 5G ยังทำให้เกิดรูปแบบสื่อการสตรีมใหม่ ๆ ที่มีกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถ ‘ลองแบบ’ ก่อนซื้อ บางแบรนด์ เช่น Tommy Hilfiger และ Gucci กำลังเสนอโชว์รูมเสมือนจริงเพื่อทดสอบความต้องการของตลาดบางแบรนด์ เช่น Taylor Stitch อนุญาตให้ลูกค้าสั่งแบบดิจิทัลล่วงหน้าก่อนที่จะผลิต
เดิม การพยากรณ์เทรนด์แฟชั่นจะพึ่งเทรนด์ก่อน ๆ แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อพยากรณ์อนาคต เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Heuritech กำหนดกลุ่มผู้ชมบนสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ ในการพยากรณ์อนาคต เทคโนโลยีการจำภาพจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับภาพในสื่อออนไลน์ เพื่อเข้าถึงรูปทรง ผ้าพิมพ์ สี และลักษณะของผ้าผืน
Image recognition technology that predicts styles trends. Source: Heuritech
Google ก็ใช้ประสบการณ์เดียวกัน โดยเป็นพันธมิตรกับแบรนด์แฟชั่น Zalando ของเยอรมนี โครงข่ายประสาทเทียม (neural network) ได้รับการฝึกให้เข้าใจสไตล์ที่ชอบ สี และเนื้อสัมผัส หลังจากนั้น อัลกอริธีมจะใช้ในการสร้างแบบตามสไตล์ที่ลูกค้าชอบ นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่าง IBM และ Fashion Institute of Technology ชื่อ “Reimagine Retail” ใช้เครื่องมือ AI ที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ของ IBM ในการกำหนดเทรนด์ของอุตสาหกรรมแฟชั่นแบบเวลาจริง และธีมของเทรนด์ รูปทรง สี และสไตล์
เทคโนโลยีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า AI เป็นหัวใจของการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคต โดยกำหนดทุกสิ่งตั้งแต่การพยากรณ์เทรนด์ ไปจนถึงการที่ผู้บริโภคมองและซื้อผลิตภัณฑ์
ผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ (Novel fabrics)
อาจกล่าวได้ว่า ผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ เป็นอนาคตของวงการแฟชั่น เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักออกแบบโดดเด่นขึ้นมาและเป็นทางเลือกด้านความยั่งยืน
ข้อมูลทุกอย่างนำไปสู่ความเห็นที่ว่า หนังเทียม (eco-leather) ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม บริษัทสตาร์ทอัพ เช่น Modern Meadow กำลังต่อสู้กับเรื่องนี้ โดยการผลิตหนังที่เติบโตจากห้องแลบ โดยไม่ทำอันตรายสัตว์ และบริษัทต่างๆ เช่น Bolt Threads และ EntoGenetics ก็กำลังคิดค้นนวัตกรรมไหมทำจากแมงมุมที่มีความแข็งแรงสูง
Modern Meadow Technology
การมีปฏิสัมพันธ์ล่าสุดในวัตถุพิมพ์ที่สามารถเปลี่ยนสี ได้แก่ระบบที่คิดค้นโดยนักวิจัยของสถาบัน MIT เรียกว่า ColorFab 3D ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวพิมพ์วัตถุด้วยการพิมพ์สามมิติ โดยใช้หมึก photochromic inks ที่เปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสกับความยาวคลื่นบางชนิดของแสงยูวี หนึ่งในสินค้าที่ผลิตครั้งแรก คือ แหวนที่สามารถตั้งโปรแกรมให้มีสีตามที่ลูกค้าต้องการ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ แฟนของ Google อาจได้สวมใส่เสื้อผ้าทำจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดย Project Jacquard เป็นโครงการจากห้องแลบด้าน ATAP (Advanced Technology and Projects) ของ Google เป็นคอลเลคชั่นเส้นด้ายที่เอื้อต่อการนำไปทอสิ่งทอที่ตอบสนองต่อการสัมผ้ส (touch-responsive textiles) เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูโต๊ะ พรม หรือทุกสิ่งที่ทำจากผ้าผืน ทีมงานเบื้องหลัง Project Jacquard ยังทำให้การเปลี่ยนสีมีความเป็นไปได้อีกด้วย Ebb ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผ้าผืนที่เปลี่ยนสี ที่วันหนึ่งอาจถูกโปรแกรมให้เปลี่ยนอารมณ์ของลูกค้า วัสดุของ Ebb ยังช่วยให้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ปัจจุบันทำบนโทรศัพท์ โดยการใช้สัญญาณสีแทน เช่น เมื่อได้รับสายเข้าบนโทรศัพท์ สีของกระดุมข้อมือเสื้อจะเปลี่ยนไป เป็นต้น
เทคโนโลยีข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ ได้เปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าที่สวมใส่ทุกวัน และผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากร้านบูติกต่าง ๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าเทรนด์เทคโนโลยีดังกล่าวกำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
Internet of things (IoT)
IoT อธิบายเครือข่ายของวัตถุ หรือ ‘things’ ที่ฝังตัวอยู่ในเทคโนโลยี ที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยน และการเชื่อมโยงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในตลาดแฟชั่น ในแต่ละปี แฟชั่นประจำวันยังปรับปรุงไปเรื่อย ๆ เพื่อสะท้อนความจริงของชีวิตประจำวัน จากการเน้นความสบายโดยการใช้ผ้าใหม่ๆและน่าตื่นเต้น อุตสาหกรรมแฟชั่นต้องก้าวให้ทันการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตร่วมสมัย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากจากเทคโนโลยีเครื่องแต่งกายล้ำสมัยที่น่าตื่นเต้น ที่มีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่นและร่างกายของเราเอง และให้ความหมายใหม่ของคำว่าสบาย
เสื้อผ้าอัจฉริยะ การออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย และชุดกีฬาที่ตอบสนองความต้องการ ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากการที่ชีวิตจริงผสมผสานกับชีวิตเสมือนจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ นักออกแบบหลายคนจึงได้ทำการทดลองและค้นหาขอบเขตของความหมายของคำว่าการสามารถสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน
การขยายตัวทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วกระทบต่อธุรกิจหลายประการ Internet of Things (IoT) ช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและผลิตภาพ ธุรกิจหลายแห่งพิจารณาใช้ IoT ในการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยช่วยให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกับธุรกิจเป็นประจำวัน ครอบคลุมเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติดิจิทัล เช่น เสื้อผ้าอัจฉริยะ การออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ชุดกีฬาที่ตอบสนองความต้องการ เป็นต้น
การพัฒนาใหม่ ๆ ที่พยายามปิดช่องว่างภายในตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยสุขภาพก็กำลังถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ เช่น กางเกงสำหรับเล่นโยคะ NADI X ได้ใส่เซ็นเซอร์เข้าไปในกางเกง เพื่อปรับให้ท่าทางของผู้สวมใส่ดีขึ้น โดยจะสั่นสะเทือนพร้อมกับการเคลื่อนไหวไปกับท่าต่าง ๆ ของโยคะ
ตัวอย่างนวัตกรรมด้าน IoT ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด จะเกี่ยวกับ Hexoskin ที่ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิ นอกจากนี้ ยังผลิตถุงเท้าที่นับแคลอรี และข้อมูลอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ชุดพลังของ Fuseprojects ช่วยให้คนชราที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเดิน ยืน และทำกิจกรรมได้นานขึ้น ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์และผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยได้
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจของ IoT ที่นำไปใช้ในเครื่องแต่งกาย คือ Loomia ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งทออยู่ที่นครซานฟรานซิสโก ผลิตวงจรนุ่มบางเบาที่สามารถฝังลงไปในสิ่งทอ สำหรับความร้อน แสง กลิ่น หรือแอพพลิเคชั่นการติดตามข้อมูล
Wearable tech by Loomia that, when connected to sensors, can heat up and emit light.
การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็ว (Rapid Data Analysis for Quick Adaption)
การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก ในการสนับสนุนการปรับตัวดังกล่าว จากการที่ในปัจจุบันมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ในตลาด แบรนด์และโรงงานต่าง ๆ จึงสามารถรับข้อมูลย้อนกลับและสัญญาณเตือนจากบริษัทได้อย่างเวลาจริง เมื่อพบสินค้ามีตำหนิหรือเสียหาย ซึ่งทำให้ช่วยประหยัดเงิน ลดของเสีย และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลา อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้ามีความพอใจ จากการพบภัยคุกคามต่อธุรกิจอย่างทันถ่วงที
หนึ่งตัวอย่าง คือ ซอฟต์แวร์การจัดการของ IQMS (ปัจจุบัน คือ Delmia Works) ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนการจัดการ ( Enterprise resource planning หรือ ERP) ใช้ในการผลิต เพื่อติดตามและเก็บข้อมูลการผลิตตามเวลาจริง ในขณะที่กำลังผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น การเกิดของ cloud computing ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้โรงงานและบริษัททำงานร่วมกันตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้สื่อสารได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิผลมากขึ้น มูลค่าของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวกับ cloud จะมากกว่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2023 โดยเน้นความสำคัญในการเปลี่ยนไปใช้การจัดการข้อมูลที่รวดเร็ว
ในกรณีของการใช้ประโยชน์สูงสุดของการสื่อสารและการผลิตกับโรงงาน ซอฟต์แวร์ Techpacker ช่วยให้คล่องตัว และมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติของขบวนการทั้งหมด ซอฟต์แวร์จาก cloud ทำให้ทุกคนในทีมออกแบบและโรงงานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในซอฟต์แวร์ tech pack ตามเวลาจริง ซี่งกำจัดขั้นตอนการจัดทำคู่มือทั้งหมด และการส่งอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้การสร้างซอฟต์แวร์ tech pack เร็วกว่าวิธีดั้งเดิมกว่าร้อยละ 70 ซึ่งแสดงในโปรแกรม Illustrator Plug-In ใหม่ ที่ใช้การออกแบบผ่านซอฟต์แวร์ cloud ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งเป็นหัวใจของการส่งเสริมซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลวงจรผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management หรือ PLM) ที่ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ผ่านทางช่องทางจัดจำหน่ายต่าง ๆ ทั้งนี้ แอพ Techpacker ช่วยให้ทีมแฟชั่นและผู้ผลิตของตนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามเวลาจริง
Techpacker plugin extension for Adobe Illustrator for syncing design assets
ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วสามารถช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปรับตัวได้เร็วเมื่อมีความจำเป็น ดังในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 การปรับตัวของแบรนด์มีความจำเป็นเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น การใช้ข้อมูลที่รวดเร็ว เช่น Techpacker จึงช่วยทำให้ทีมงานร่วมมือกันดียิ่งขึ้น และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ผ่านทางการเลือกใช้ซอฟต์แวร์เดียว
การทำธุรกิจซื้อขายออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile commerce)
เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นทุกวัน จากการช้อปปิ้งออนไลน์ไปจนถึงกระเป๋าเงินอัจฉริยะ ธุรกิจซื้อขายออนไลน์จึงเป็นสุดยอดของเครื่องมือเทคนิค ซึ่งไม่เพียงแต่มีผลต่อชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในสาขาที่โตเร็วที่สุดในสาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อช้อปปิ้งออนไลน์มีความง่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ กระเป๋าเงินดิจิทัล เช่น แอพของ Apple และ Android Pay ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น การยอมรับรอยนิ้วมือและใบหน้า จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการจ่ายเงินที่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับซื้อสินค้าขายปลีก ความจริงแล้ว จากข้อมูลของ BigCommerce สองในสามของผู้ที่อยู่ในเจเนอเรชั่น millennials ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าซื้อจากร้าน
นอกเหนือจากการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หากเรานับสื่อสังคมออนไลน์ (เช่น การช้อปปิ้งของ Instagram) แบรนด์ต่าง ๆ ก็อาจอยู่ในช่องที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า พร้อมพาณิชย์ดิจิทัลที่บูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เห็นได้ดีขึ้น และมีโอกาสขายได้ดีขึ้นเช่นกัน
เช่นเดียวกัน แอพแฟชั่นที่ยั่งยืน เช่น Vinted และ Depop ก็เป็นที่ฮือฮาในตลาด โดยแทนที่ช่องทางดั้งเดิม เช่น eBay และ Gumtree ในการขายสินค้าแฟชั่นมือสอง สถานที่ขายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เหล่านี้ ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมการขายออนไลน์ และแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่กำลังนำนวัตกรรมมาใช้ในทุกเรื่องในอุตสาหกรรมแฟชั่น
เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality หรือ AR)
การผสมผสานระหว่างโลกกายภาพและโลกออนไลน์ของการค้าปลีก เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดของโลกเสมือนจริง รวมทั้งในอุตสาหกรรมแฟชั่น การใช้เทคโนโลยี VR ที่แพร่หลายอย่างหนึ่ง คือ การช่วยให้ลูกค้าลองเสื้อทางโลกเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น จากการวัดตามขนาดของลูกค้าและใช้เทคโนโลยี AR ซึ่งหมายความว่า ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่รู้สึกว่าเคยลองมาแล้ว
ประสบการณ์การชอปปิ้งออนไลน์ประเภทนี้ ดึงลูกค้าให้อยู่ได้นานกว่า เพราะลูกค้าต้องการเห็นผลิตภัณฑ์บนตัวเองก่อนซื้อ และรวมเข้ากับการแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ดึงดูดลูกค้ามากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ บริษัทบางแห่งกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AR และ VR อย่างเต็มที่
OBSESS เป็นแพลทฟอร์มที่ทำให้แบรนด์และผู้ค้าปลีกสร้างและใช้ประสบการณ์การช้อปปิ้งสามมิติและ 360 องศา บนเว็บไซต์ของตน mobile apps และช่องทางสื่อออนไลน์ผ่านทางการค้าบน Cloud (Commerce Cloud) สามมิติ
Augmented reality 3D fit technology.
Virtusize ยังช่วยให้ผู้ค้าปลีกแฟชั่นแสดงขนาดของผลิตภัณฑ์เหมือนจริง และขนาดของเสื้อผ้าที่พอดีกับที่ลูกค้าเลือก
A widget by Virtusize that helps buyers visualize how to measure their favorite item at home and provides measurements for custom-fit garments.
อีกหนึ่งผู้ใช้หลักที่สำคัญของเทคโนโลยี AR/VR คือ EFI Optitex ผู้ปรับปรุงขบวนการที่แพงและใช้เวลานานเพื่อหาขนาดที่พอดี โดยแสดงให้เห็นองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบ เช่น ภาพสเก็ตช์แบบหนึ่งมิติที่สามารถทำให้เป็นสามมิติ ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถปรับได้อย่างรวดเร็วสำหรับการตัดหรือปล่อยขนาดเสื้อให้หลวม ทำให้สามารถปรับตามความจำเป็นได้ตามเวลาจริง
เทคโนโลยีสามมิติใหม่อื่น ๆ ได้แก่ CLO ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์ปรับการออกแบบในเวลาเดียวกับที่การรีวิวเปลี่ยน ซึ่งจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของการออกแบบโดยตรวจรูปทรงและขนาดที่พอดีในขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งจะช่วยลดของเสียและลดความผิดพลาดในตัวอย่างก่อนการผลิตเสร็จ
การจำหน่ายเสื้อผ้าดิจิทัลกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Louis ได้ออกแบบ “หนัง” สำหรับตัวละครของ เกม League of Legends และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Ralph Lauren ได้ร่วมมือกับ Bitmoji ที่ซี่งลูกค้าสามารถสร้างรูปลักษณ์ Bitmoji ของตนเอง โดยใช้เสื้อผ้าแบบ mix-and-match ใหม่จาก Polo Ralph Lauren ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังของตู้เสื้อผ้าอิเล็กทรอนิกส์
Ralph Lauren and Bitmoji collaboration. Source Ralph Lauren
โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ออนไลน์ (Online vector editors)
โปรแกรมวาดรูป Adobe Illustrator ใหม่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ หากยังใหม่ต่อการออกแบบ ก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์การออกแบบกราฟฟิกได้ หรือหากไม่สามารถเข้าถึงโปรแกรม Illustrator หรือ Sketch สิ่งที่ต้องการ คือ โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์แบบง่าย มีโปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ออนไลน์ เช่น Vectr, Boxy SVG Editor และ Repsketch ที่สามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าที่ใดจากเครื่องจักรใด
โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ คือ เทมเพลทที่สร้างโดยนักออกแบบกราฟฟิกหรือนักออกแบบแฟชั่น เช่น Repsketch ที่นำเสนอเทมเพลทเสื้อผ้าหลากหลายให้เลือก มีรายละเอียดการออกแบบต่าง ๆ เช่น คอเสื้อ แขนเสื้อ และกระเป๋าต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ออกแบบเสื้อผ้าใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเริ่มจากการสเก็ตช์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ส่งข้อมูล หรือแชร์ลิงค์สาธารณะของการออกแบบไปยังทั่วโลก ด้วย SVG (Scalable Vector Graphics) หรือภาพกราฟฟิกแบบเว็คเตอร์สองมิติที่เป็นมิตรต่อเว็บ
การพิมพ์สามมิติ (3D Printing)
ตั้งแต่การก่อกำเนิดของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบรนด์หลายรายทั้งเล็กและใหญ่ ต่างศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นแนวทางใหม่ในการสร้างความยั่งยืน และความคิดสร้างสรรค์
แบรนด์แฟชั่นหลายรายใช้การพิมพ์ 3 มิติในคอลเลคชั่นของปี 2022 ถึงแม้จะใช้เวลาหลายชั่วโมงในการผลิต แต่ก็ทำให้มีของเสียน้อยลงและใช้แรงงานเข้มข้นน้อยกว่าการผลิตประเภทอื่น การพิมพ์เสื้อผ้าตามสั่งจะช่วยลดของเสียที่เป็นเศษผ้าประมาณร้อยละ 35 ซึ่งจะช่วยทำให้โรงงานตระหนักถึงความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
หนึ่งในผู้บุกเบิกการพิมพ์สามมิติในแฟชั่นชั้นสูง คือ Iris Van Herpen ซึ่งเป็นผู้ออกแบบชาวดัทช์ที่ทำงานด้านการพิมพ์สามมิติมาตั้งแต่ปี 2010 หนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของเธอ คือ เสื้อ "Crystallization" ที่พิมพ์สามมิติจากโพลิเอไมด์สีขาว ทั้งนี้ Van Herpen อาจเป็นนักออกแบบเพียงคนเดียวที่จัดแสดงผลงานในสัปดาห์แฟชั่นชั้นสูง (Haute Couture fashion weeks) ที่มีชื่อเสียงที่กรุงปารีส โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับเครื่องแต่งกาย ลูกค้าของเธอ ได้แก่ Beyonce และ Lady Gaga โดยผลิตเสื้อแฟชั่นที่พิมพ์สามมิติเป็นพิเศษ
การพิมพ์สามมิติยกระดับแฟชั่นให้สูงขึ้นไปอีก เช่น ชุดแมงมุม (Spider Dress) ที่เหลือเชื่อของ Anouk Wipprecht ที่มีแขนกล ซึ่งจะเปลี่ยนตามระยะที่อยู่ใกล้คน ชุดที่พิมพ์สามมิตินี้ ผนวกเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ล้ำยุคเข้ากับแฟชั่นชั้นสูง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้งานอเนกประสงค์ของเทคโนโลยีใหม่นี้
การถักแบบดิจิทัล (digital knitting) ก็เป็นที่นิยมในโลกของการพิมพ์ 3 มิติ และเสนอความเป็นไปได้มากมายของการผลิตตามสั่ง ผู้ผลิต เช่น Shima Seika สามารถเปลี่ยนเส้นด้ายให้เป็นเสื้อผ้าทั้งชุดแบบไร้รอยต่อภายในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
Seamless operation: a jumper made with one single thread
บล็อคเชน (Blockchain)
บล็อกเชนเป็นเครื่องมือที่ดี มีความโปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ และมีประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทาน โดยช่วยให้สมาชิก ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ไปจนถึงนายธนาคาร สามารถเชื่อมโยงกันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลดิบ และเอกสารโดยตรงอย่างปลอดภัย
ส่วนใหญ่บล็อกเชนใช้ในเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล "บล็อก" บนบล็อกเชนทำจากชิ้นข้อมูลที่เป็นดิจิทัล ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เช่น วัน เวลา และจำนวนเงินที่ใช้ซื้อล่าสุด และผู้ที่ร่วมทำธุรกรรม อย่างไรก็ตาม ยังเก็บข้อมูลที่ต่างจากบล็อกอื่นๆ โดยใช้รหัสเฉพาะเรียกว่า hash (กลไกในการแปลงข้อมูล) ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าและห่วงโซ่อุปทานผ่านเทคโนโลยี เช่น การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับและการจัดการสินค้าคงคลัง
บล็อกเชนสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ-ดิจิทัลระหว่างผลิตภัณฑ์และเอกลักษณ์ด้านดิจิทัลบนบล็อกเชน และเช่นเดียวกับเงินตราดิจิทัล บล็อกเชนมีการเข้ารหัสลับหรือชุดตัวเลขที่เป็นตัวระบุทางกายภาพที่เชื่อมโยงกลับไปยัง "แฝดดิจิทัล" (การจำลองวัตถุกายภาพให้เป็นวัตถุดิจิทัล) ของผลิตภัณฑ์
Blockchain technology tracks the journey of raw material through the supply chain and finally to the finished garment.
เทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้โดย Textile Genesis เพื่อบันทึกทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งจะทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีความโปร่งใสมากขึ้น และผลักดันให้มีความยั่งยืนมากขึ้น และทุกครั้งที่ผลิตภัณฑ์เคลื่อนย้ายภายในห่วงโซ่อุหทาน จะถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตสินค้าปลอมหรือการติดตามว่าใครเป็นคนสุดท้ายที่ถือผลิตภัณฑ์และนำผลิตภัณฑ์ปลอมเข้ามาหรือการเอาผลิตภัณฑ์จริงออกไป เป็นต้น
ความยั่งยืน (Sustainability)
ท้ายสุด คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงความยั่งยืน โดยในอดีตแฟชั่นมักติดตามรูปแบบเดิมของฤดูกาลต่าง ๆ กล่าวคือ นักออกแบบจะนำเสนอเสื้อผ้าสำหรับฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ จากปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศที่เร่งด่วน ทำให้นักออกแบบหันเหจากคอลเลคชั่นตามฤดูกาล ไปยังการออกแบบเสื้อผ้าที่ไม่มีกาลเวลา ที่สามารถให้บริการผู้บริโภคได้หลายปี
สำหรับ fast fashion การออกแบบจะเปลี่ยนจากงานแสดงแฟชั่นไปยังหิ้งร้านอย่างรวดเร็ว ยักษ์ใหญ่ของวงการ fast fashion สามารถผลิตเสื้อผ้าเป็นคอลเลคชั่นเล็ก ๆ ถึง 52 คอลเลคชั่นต่อปี และเพื่อให้สามารถติดตามความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว แบรนด์ดั้งเดิมต้องติดตามและออกคอลเลคชั่น 11 คอลเลคชั่นต่อปี
จากการผลิตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดของเสียจากสิ่งทอมากเกินไป และเสื้อผ้าเป็นจำนวนมากต้องจบลงในขยะฝังกลบ และเป็นอันตรายต่อทั้งคนงานในโรงงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ แต่ละปี เสื้อผ้าประมาณ 12.8 ล้านตันถูกส่งไปขยะฝังกลบ อุตสาหกรรมแฟชั่นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก ร้อยละ 20 ของการปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมทั่วโลก ร้อยละ 24 ของการใช้ยาฆ่าแมลงทั่วโลก และร้อยละ 11 ของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชทั่วโลก
จากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคและแบรนด์แฟชั่นกำลังหันไปสู่แนวคิดของ “slow fashion” ผลก็คือ แบรนด์หลายรายกำลังเลือกที่จะทำการผลิตอย่างยั่งยืนและผู้บริโภคกำลังเลือกแบรนด์ที่ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า fast fashion ทั้งนี้ จากข้อมูลของโปรแกรมค้นหาข้อมูลแฟชั่น Lyst พบว่า คิดเป็นร้อยละ 47 ของนักช้อปมองหาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างมีจริยธรรมและมีความยั่งยืน
และอีกการดำเนินการหนึ่งที่สร้างความยั่งยืน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น คือ การซื้อเสื้อผ้ามือสองจากการฝากขายและจากร้านขายของมือสอง หนึ่งในร้านขายของมือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด คือ Threadup คาดการณ์ว่า ตลาดเสื้อผ้ามือสองทั้งหมดจะมีมูลค่า 51 พันล้านเหรียญฯ ภายในปี 2023 ส่วนร้านเสื้อผ้า Re-Fashion ได้พัฒนาโครงสร้างแบบวงปิด (cyclical structure) สำหรับแฟชั่นที่ยั่งยืน โดยจำหน่ายเสื้อผ้าจากนักออกแบบมือสอง ในราคาที่เหมาะสมและรับบริจาคฟรีด้วย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นแพลทฟอร์มดิจิทัลที่ผลักดันความยั่งยืนผ่านทางตลาดออนไลน์
เช่นเดียวกันแบรนด์ใหม่ ๆ หลายรายกำลังเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือแบรนด์อย่าง Cuyana กำลังเรียกร้องให้ลูกค้าซื้อ “สินค้าน้อยลงแต่มีคุณภาพดีขึ้น” ส่วน Hackwith Design House แบรนด์จากรัฐมินนิโซต้า กำลังผลิตเสื้อที่ทำจากผ้าค้างสต็อก
Cuyana's sustainability model
สิ่งเหล่านี้แสดงว่าความยั่งยืนผลักดันการตัดสินใจทางธุรกิจ และการตลาดออนไลน์ และกลายมามีความสำคัญสำหรับแบรนด์และนักออกแบบส่วนใหญ่
------------------------------------------------
แหล่งที่มา : https://techpacker.com/blog/design/top-9-fashion-technology-trends/
เรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ