หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / Nearsourcing กับการตอบโจทย์ความต้องการสิ่งทอรีไซเคิลสำหรับธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา

Nearsourcing กับการตอบโจทย์ความต้องการสิ่งทอรีไซเคิลสำหรับธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา

กลับหน้าหลัก
09.01.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 449

Nearsourcing กับการตอบโจทย์ความต้องการสิ่งทอรีไซเคิลสำหรับธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา

“ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกาต่างกำลังมองหาเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบใกล้สถานที่ตั้ง หรือ Nearsourcing ที่ตั้งอยู่กับใกล้กับสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น”

ที่มา (ภาพ) : www.just-style.com  

ทั้งนี้ ผลการศึกษาล่าสุดที่ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐอเมริกา) จำนวนกว่า 3,000 ราย เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์ที่มีต่อการจัดหาธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาสำหรับเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลและข้อเสนอต่าง ๆ พบว่า ในปี 2565 เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็นร้อยละกว่า 90 ขณะที่เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คิดเป็นร้อยละ 43  

ในขณะเดียวกัน พบว่า ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้าเครื่องแต่งกายจากประเทศในแถบเอเชียลดลง ยืนยันได้จากผลการศึกษาฯ ฉบับดังกล่าว พบว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ มีความต้องการเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 41.9 ถัดไปคือ ต่างให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบใกล้สถานที่ตั้ง หรือ Nearsourcing คิดเป็นร้อยละ 30.1 และให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบภายในประเทศ(สหรัฐอเมริกา) คิดเป็นร้อยละ 14.8 ตามลำดับ

ทั้งนี้ จากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวที่ทำการศึกษาทั้งหมดต่างให้ความสำคัญต่อเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล และมองว่าการใช้วัสดุรีไซเคิลยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายในระยะยาว ทั้งในด้านความต้องการใช้และการเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ผู้ค้าปลีกได้รับประโยชน์ในเชิงธุรกิจและในเชิงสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน ยกตัวอย่างเช่น จากความเฉพาะเจาะจงของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) รีไซเคิล บวกกับกระบวนการผลิตเครื่องแต่งกายที่ใช้วัสดุรีไซเคิลที่มีเพิ่มมากขึ้น องค์ประกอบหลักทั้ง 2 ส่วน สามารถระบุได้ถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าดังกล่าวว่าผลิตในสหรัฐอเมริกา หรือ “Made in the USA” หรือมาจากแหล่งวัตถุดิบแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกานั่นเอง เช่น เอลซัลวาดอร์ (El Salvador), นิการากัว (Nicaragua) และแอฟริกา (Africa) เช่น ตูนิเซีย (Tunisia) และโมร็อกโก (Morocco) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การจัดหาเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลจะช่วยให้ธุรกิจค้าในสหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงในความหลากหลายด้านต่าง ๆ เช่น ลดการพึ่งพาการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบจากจีน ขยายการจัดหาที่มีต่อแหล่งวัตถุดิบที่ใกล้เคียง และกระจายฐานการจัดหาแห่งใหม่ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง

การที่ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐฯ ต่างให้ความสำคัญกับวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายการค้าอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อรูปแบบการจัดหาของธุรกิจแฟชั่นในปัจจุบัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการเจรจาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการ และ/หรือเครื่องมือเชิงนโยบายด้านการค้า เช่น อัตราภาษีพิเศษ เพื่อสนับสนุนถึงความพยายามของผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ถึงการจัดหาเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิลหรือสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

สรุปสาระประเด็นสำคัญของรายงานเกี่ยวกับการจัดหาสิ่งทอรีไซเคิล ดังนี้

สะท้อนถึงองค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทานที่มีเอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล และรูปแบบการจัดหาของผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ที่ค่อนข้างแตกต่างจากเครื่องแต่งกายทั่วไป

พบว่า เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็นร้อยละกว่า 90 ขณะที่เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คิดเป็นร้อยละ 43 ในขณะเดียวกัน พบว่า ธุรกิจค้าปลีกเครื่องแต่งกายในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาการนำเข้าเครื่องแต่งกายจากประเทศในแถบเอเชียลดลง ยืนยันได้จากผลการศึกษาฯ ฉบับดังกล่าว พบว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ มีความต้องการเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 41.9 ถัดไป ให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบใกล้สถานที่ตั้ง หรือ Nearsourcing คิดเป็นร้อยละ 30.1 และให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบภายในสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 14.8 ตามลำดับ

ผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ ได้กำหนดเกี่ยวกับการจัดประเภทที่แตกต่างกันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่มีต่อเครื่องแต่งกายที่ทำจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล 

จากผลสำรวจตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายที่ผลิตจากวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล พบว่า เครื่องแต่งกายที่นำเข้าจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์มากกว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งการนำเข้าเครื่องแต่งกายดังกล่าวจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนกว่า สามารถรองรับกำลังการผลิตจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะนวกในภาคการผลิต เช่น เครื่องไม้ เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต และมีกำลังแรงงานที่มีทักษะมากกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ประเด็นด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งหากพิจารณาจากราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในด้านราคาระหว่าง 2 กลุ่มประเทศ

ที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศผู้ส่งออกมีความสำคัญต่อรูปแบบการจัดหาของสหรัฐฯ เกี่ยวกับวัสดุสิ่งทอรีไซเคิล

โดยสรุป มีดังนี้ :-

1.การนำเข้าจากกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า มีประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย (ผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ย่อย) ซึ่งสามารถกำหนดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังตลาดเป้าหมายได้หลากหลายและตรงจุด

2.การนำเข้าจากกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความเรียบง่าย (เสื้อยืดและถุงเท้า) และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในระดับปานกลาง เน้นที่ตลาดมวลชน (mass market)

3.การนำเข้าจากกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรป พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูงกว่าในประเภทสินค้าที่มีความซับซ้อนอยู่ในระดับปานกลาง และมีการแบ่งประเภทสินค้าที่ค่อนข้างหลากหลาย

4.การนำเข้าจากกลุ่มประเทศแอฟริกา พบว่า มุ่งเน้นไปยังสินค้าพรีเมียมหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าสินค้าในหมวดทั่วไป (เช่น กางเกงว่ายน้ำ) แต่มีข้อจำกัดในความหลากหลายของประเภทสินค้า

—-----------------------------------------------

ที่มา : www.just-style.com  

เรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

สิ่งแวดล้อมสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม, ความยั่งยืน, ธุรกิจ, เครื่องแต่งกาย, ค้าปลีก, Nearsourcing, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66