หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 89 (เดือนสิงหาคม 2565)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 89 (เดือนสิงหาคม 2565)

กลับหน้าหลัก
16.08.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 400

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน 

ฉบับที่ 89 (เดือนสิงหาคม 2565)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

แฟชั่นโชว์ผ้ายกไห่หนานหลี่ดึงดูดความสนใจล้นหลามที่มหกรรมแสดงผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคนานาชาติจีน

แฟชันโชว์รายการนี้ดูแลโดยแบรนด์นักออกแบบรุ่นใหม่ "แองซูแลร์" (INSULAiRE) โดยแบรนด์ดังกล่าวก่อตั้งขึ้นในกรุงปารีสเมื่อปี 2560 และหมายถึง 'เหตุการณ์บนเกาะ' หรือ 'ชาวเกาะ' โดยหยาง จื้อข่าย (Yang Zhikai) ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบของแองซูแลร์ เกิดและเติบโตในไห่หนาน เขาได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและนำเสนอสิ่งเหล่านี้ผ่านแนวคิดที่ทันสมัยและเป็นสากล โดยได้ผสมผสานผ้ายกหลี่พื้นเมืองเข้ากับองค์ประกอบของไห่หนาน เช่น วัฒนธรรมต่านกา (Tanka) และมหาสมุทร เพื่อออกแบบเสื้อผ้าที่มีสไตล์อันซับซ้อนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์หลี่

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมิถุนายน 2565

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมิถุนายน 2565

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 617.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 402.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 215.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 513.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 365.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 147.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 104.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมิถุนายน 2565

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมิถุนายน 2565

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 179.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 119.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 60.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 186.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 128.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 57.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุลในเดือนนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2565

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 93.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 ที่มีมูลค่า 4,494.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่8,713.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็น สินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.84 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการ ส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,851.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 39.82 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่า เดือนมิถุนายน 2565 มีการปรับตัวลงร้อยละ 25.78 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2565

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2564 และปี 2565

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

เทรนด์นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของรองเท้า เพื่อชี้นำการออกแบบและพัฒนาในอนาคต

สินค้าแฟชั่นก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง นักออกแบบเริ่มสรรหาเทคโนโลยีทุกชนิดเพื่อสร้างสินค้าที่แตกต่างและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติด้านเทคโนโลยีเริ่มวางตลาด แต่เรื่องความน่าสนใจของการพบกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับแฟชั่นยังอยู่ที่”รองเท้า”

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

“เส้นใยผ้า” อัจฉริยะฝีมือคนไทย ยับยั้งไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา 99%

ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันไม่ใช่แค่ต้องพบเจอกับไวรัส "โควิด-19" เท่านั้น แต่ยังมีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา อีกด้วย การที่มีที่ "เส้นใยผ้า" ที่สามารถป้องกัน ยับยั้งเชื้อเหล่านั้นได้ จึงนับเป็นทางเลือก โดยเฉพาะ “หน้ากากผ้า” ที่มีความจำเป็นในการป้องกันโรค

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

ตลาดฟินแลนด์อ้าแขนให้การต้อนรับรองเท้าผ้าใบรักษ์สิ่งแวดล้อมรีไซเคิล

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงในฟินแลนด์เห็นแนวโน้มการเติบโตของสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อมของตลาด เลือกผลิตรองเท้าผ้าใบรักษ์สิ่งแวดล้อมที่รีไซเคิลจากกากกาแฟเหลือทิ้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

สศอ. ร่วมกับ สถาบันฯสิ่งทอ เผยผลสำเร็จการพัฒนาวัสดุสิ่งทอเชิงเทคนิค พร้อมเปิดตัว 10 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสิ่งทอทางการแพทย์ เฟส 3

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เผยผลสำเร็จการพัฒนาวัสดุสิ่งทอเชิงเทคนิค พร้อมพัฒนา 10 ต้นแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์ปี 2565  ดันสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ คาดสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 20 % ขยายศักยภาพพร้อมรองรับการเติบโตอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.89, เดือนสิงหาคม, ปี 2565, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'65