หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / บริษัทเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามต้องการการมีส่วนร่วม ในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

บริษัทเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามต้องการการมีส่วนร่วม ในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

กลับหน้าหลัก
16.08.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 335

บริษัทเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามต้องการการมีส่วนร่วม ในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

บริษัทเครื่องหนังและรองเท้า ของเวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องและสนับสนุนให้ดียิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับแฟชั่นและ การออกแบบมากขึ้นเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทาน ระดับโลก โดย Ms. Phan Thị Thanh Xuân ที่ปรึกษา โครงการ Linkages for Small and Medium Enterprises ของ USAID กล่าวว่า ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP และข้อตกลงการค้าเสรีของสหภาพยุโรป - เวียดนาม (EVFTA) เป็นโอกาสที่ดีกับอุตสาหกรรมเครื่องหนังและ รองเท้าของเวียดนาม เนื่องจากข้อตกลงการค้าทั้งสองฉบับได้ มีการลดอัตราภาษีศุลกากรลง 

โดยในปี 2563 มูลค่าการส่งออกรวมของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 19.5 พันล้านเหรียญ สหรัฐ ลดลงประมาณ 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (หรือปี 2562) เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อวัสดุ การผลิตตลอดจนการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้าไปยังตลาดต่างประเทศ โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าลูกค้ามีแนวโน้มเลือกซื้อและใช้สินค้าที่มีอายุการใช้งานนานมากกว่าสินค้าที่เป็นไปตามกระแสแฟชั่น แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจตามแฟชั่นก็จำเป็นที่ต้องทำตามความต้องการของตลาด แต่ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุง คุณภาพสินค้าและลดเวลาในการจัดส่งสินค้าให้น้อยลง

Ms. Nguyễn Thị Xuân Thủy รองผู้อำนวยการศูนย์ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม กล่าวว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าในเวียดนามมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการทำเครื่องหนังและรองเท้าจำนวนน้อย อีกทั้งเครื่องจักรที่ใช้งานที่เป็นระบบอัตโนมัติมีจำนวนจำกัด การผลิตส่วนใหญ่จึงจำกัดอยู่ที่การผลิตแบบ Cut, Make, Trim และการส่งออกที่ต้องทำผ่านคนกลาง นอกจากนี้ยังขาดพนักงานที่มีทักษะทางการตลาดและการขายสินค้าที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ

Ms. Phan Thị Thanh Xuân กล่าวว่า ธุรกิจที่จะฟื้นตัวและพัฒนาหลังจาก COVID-19 จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงและเพิ่มมูลค่าสินค้าของบริษัทในห่วงโซ่อุปทาน โดยดูในเชิงลึกของแต่ละห่วงโซ่และดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ เช่น ต้องมีการปรับปรุงด้านการออกแบบให้ลึกไปถึงวัสดุและวัสดุเสริมของ สินค้า และเข้าไปมีส่วนร่วมในเครือข่ายโลจิสติกส์มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาการผลิตธุรกิจจำเป็นต้องลงทุนในระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและปรับปรุงขนาดการผลิต อีกทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรักษาสภาพการทำงานที่ดี 

ภายในปี 2568 อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าของเวียดนามมีเป้าหมายเพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศและรักษาตำแหน่งในฐานะอุตสาหกรรมการส่งออกที่สำคัญมี ความสำคัญของประเทศ และภายในปี 2573 อุตสาหกรรมฯ มีเป้าหมายที่จะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและระบบการจัดการที่ทันสมัยซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก โดยสมาคมเครื่องหนังรองเท้าและกระเป๋าของเวียดนามจะยังคงทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับนโยบายที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถฟื้นฟูการผลิตและการส่งออกได้เนื่องจาก COVID-19 

ที่มา : 

1.https://www.vietnamnews.vn  

2.สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP, กระทรวงพาณิชย์

กฎระเบียบเครื่องหนัง, อุตสาหกรรม, เครื่องหนังรองเท้า, เวียดนาม, supply chain, DITP, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'65