หน้าแรก / THTI Insight / ข่าวรายวัน / พูดคุยผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า เจาะลึกประวัติความเป็นมา ถอดวิถีชนชั้นสูงพม่า ผ่านลวดลาย “ลุนตยา”...

พูดคุยผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า เจาะลึกประวัติความเป็นมา ถอดวิถีชนชั้นสูงพม่า ผ่านลวดลาย “ลุนตยา”...

กลับหน้าหลัก
09.07.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 460

เมื่อพูดถึงจักรวาล “นวนิยายซีรีส์ผีผ้า” ที่เขียนบทประพันธ์โดย “คุณหมอพงศกร” หรือ หมอโอ๊ต-นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ ต้องบอกว่า “เล่ห์ลุนตยา” ถือเป็นอีกเรื่องที่มีความโดดเด่น น่าสนใจ ทั้งในเชิงวัฒนธรรม การเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาตร์ และอรรถรสความบันเทิง ซึ่งล่าสุด ทางช่อง 8 ได้นำมาถ่ายทอดเป็นละครดราม่า สยองขวัญฟอร์มยักษ์ “เล่ห์ลุนตยา” ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี  เวลา 20.30 น. โดยได้นักแสดงสาวมากฝีมือ ยุ้ย-จีรนันท์ มะโนแจ่ม มารับบทนำ อย่าง “เจ้าหญิงมินพยู”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/



ซึ่งนอกจากเรื่องราวที่เข้มข้นแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์ของละคร ก็คือ “ผ้าลุนตยา” ตัวเดินเรื่อง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง โดยทางทีมงานได้ร่วมงานกับ ผศ.ดร.กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ หรือ “อาจารย์ตุ้ย” ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องผ้า มาเป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย รวมทั้งวางลุคให้กับตัวละครทั้งหมด เพื่อความสมจริงและตรงตามวัฒนธรรมของพม่า ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/

วันนี้ “เทรนดี้ ฟรีไทม์” จึงขอแฟน ๆ ไปรู้จักกับความเป็นมาของ “ผ้าลุนตยา” ที่สะท้อนถึงวิถีเหล่าราชวงศ์พม่า และความเชื่อทางพุทธศาสนา รวมทั้งพูดคุยกับ “คุณหมอพงศกร” และ “อาจารย์ตุ้ย” ถึงการออกแบบเครื่องแต่งกายให้แต่ละตัวละครกัน
 
 



วันนี้ “เทรนดี้ ฟรีไทม์” จึงขอแฟน ๆ ไปรู้จักกับความเป็นมาของ “ผ้าลุนตยา” ที่สะท้อนถึงวิถีเหล่าราชวงศ์พม่า และความเชื่อทางพุทธศาสนา รวมทั้งพูดคุยกับ “คุณหมอพงศกร” และ “อาจารย์ตุ้ย” ถึงการออกแบบเครื่องแต่งกายให้แต่ละตัวละครกัน
 
รู้จัก “ผ้าลุนตยา”
 
สำหรับ “ผ้าลุนตยา” หรือ “ลุนตยาอเชะ (Luntaya acheik)”  คือผ้าทอร้อยกระสวยของราชสำนักพม่า แห่งกรุงมัณฑะเลย์ ในยุคของจารีตพม่า ผ้าทอลุนตยาสงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือสำหรับพระราชทานแก่ขุนนาง ซึ่งสามัญชนไม่สามารถนำไปสวมใส่ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎมณเฑียรบาล อันจะมีบทลงโทษ ผ้าลุนตยาถูกทอขึ้น เพื่อใช้เป็นผ้านุ่งสำหรับบุรุษและสตรี โดยบุรุษจะมีผ้าผืนยาว 3-4 หลา เรียกว่า “ตาวง์เฉ่ญ์ปะโซ” ส่วนสตรีเป็นผ้าซิ่นไม่เย็บตะเข็บ นุ่งด้วยวิธีการพับปล่อยชายผ้าถุงยาวลากพื้นเรียกว่า “ทะเมง”
 
... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/



ลวดลายลุนตยาอชิก สื่อนัยทางพุทธศาสนา
 
ผ้านุ่งลายลุนตยาอชิก” พม่าออกเสียง “โลนต๊ะหย่า” เป็นเทคนิคการทอผ้าชั้นสูง ใช้วิธีการทอแบบเกาะล้วง นอกจากจะต้องใช้คนทอถึงสองคนในเวลาเดียวกันแล้ว การทอยังต้องทอจากด้านหลังของชิ้นงาน เมื่อต้องการมองลายก็ต้องใช้กระจกส่องลายด้านล่าง รวมถึงต้องใช้ฝีมือและการทอที่นานมากกว่าผ้าชนิดอื่น ๆ โดย “อชิค” หรือ “อะฉิก” แปลว่า “คลื่น” สื่อถึงท้องคลื่นของแม่น้ำอิรวดี และแสดงนัยทางพระพุทธศาสนา คลื่นและลวดลายเหมือนทะเลสีทันดร และเขาสัตตบริภัณฑ์ ทั้ง 7 รอบเขาพระสุเมรุ เส้นไหมจากกระสวยนับร้อย ทำหน้าที่เป็นเส้นพุ่งเกาะเกี่ยวทีละเส้นต่อเนื่องกันไป จนเกิดเป็นลายเส้นโค้งไล่ระดับจนออกมาเป็นลวดลายคลื่นแบบต่าง ๆ สวยงาม ทั้งที่เป็นเกลียวคล้ายเส้นเชือก และดูคล้ายลายเรขาคณิต ลวดลายที่ผสมเถาวัลย์พรรณไม้และดอกไม้ รวมไปถึงนกชนิดต่าง ๆ ด้วย... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/



ผ้าลุนตยา สีชมพูกลีบกุหลาบ มูลค่า 6 หลัก
 
ในละคร “เล่ห์ลุนตยา” นั้นมีการพูดถึงผ้าลุนตยา สีชมพูกลีบกุหลาบ ที่ “เจ้าหญิงมินพยู” สวมใส่ ซึ่งมีราคาถึง 6 หลัก ดังนั้นนักแสดงสาว ยุ้ย จึงไม่ได้ใส่ผ้าผืนจริงในการทำการแสดงตลอดทุกฉาก มีเพียงบางฉากเท่านั้น เพราะในการทำการแสดงต้องเคลื่อนไหวร่างกายมาก อาจทำให้ผ้าพังและเกิดความเสียหายได้ โดยเครื่องแต่งกายใน “เล่ห์ลุนตยา” นั้นเป็นการกำหนดรูปแบบเครื่องแต่งกายแบบพม่าในยุคคองบอง ประเภทผืนผ้าในวัฒนธรรมนั้นคือ ผ้าลุนตยาที่มีการจัดวางสีให้เหมาะสม และสื่อความหมายตามบุคลิกภาพของตัวละครและตามที่บทบาทกำหนด... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/

เปิดใจ “คุณหมอพงศกร”  กับการเลือกผ้าลุนตยาเป็นตัวนำ
 
“เรื่องราวครั้งนี้ ที่ตั้งใจเลือกใช้ผ้าลุนตยาเป็นตัวนำ เพราะเป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของพม่าและประวัติศาสตร์พม่า ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่ราชวงศ์อังกฤษจะเข้ามา เป็นช่วงที่ประวัติศาสตร์น่าสนใจมาก ก็เลยสร้างตัวละครในอดีตก็คือ ‘เจ้าหญิงมินพยู’ ให้เป็นตัวละครที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น เราอยากจะเล่าเรื่องวัฒนธรรมผ้า และประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านที่มีการเข้ามาของราชวงศ์อังกฤษ ในนวนิยายเราอิงเหตุการณ์จริงค่อนข้างเยอะ แต่ตอนเป็นละคร เรามองว่าการเมืองและประวัติศาสตร์เป็นประเด็นที่อ่อนไหว เราจึงคุยกับทางคุณสถาพร (ผู้จัด) และมีความเห็นตรงกันว่า ปรับจากเหตุการณ์จริงเป็นเหตุการณ์สมมุติ และเป็นเมืองสมมุติ เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นต่าง ๆ เรื่องของการปรับบทละคร ต้องเรียนว่านวนิยายมันเป็นจินตนาการของนักเขียน อยากเขียนอย่างไรก็เขียนได้ แต่เวลาเป็นละคร จากหนังสือมาเป็นภาพ บริบทไม่เหมือนกัน มันจำเป็นต้องมีการลดบางอย่างเพิ่มบางอย่าง เพื่ออรรถรส รับรองว่าถ้าอ่านหนังสือก็จะสนุกแบบหนังสือ พอมารับชมละครก็จะสนุกแบบละคร เนื้อหาหัวใจของเรื่องก็ยังคงไว้ครบถ้วนแน่นอนครับ”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/



พูดคุย “อาจารย์ตุ้ย” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า
 
โดย “อาจารย์ตุ้ย” ที่ใฝ่ฝันอยากร่วมออกแบบในโปรเจคท์ซีรีส์ผ้านี้ อีกทั้งยังผูกพันกับ “ผ้าลุนตยา” ได้เปิดใจเล่าถึงการทำงานครั้งนี้ให้ฟังหมดเปลือก... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/







คิดคอนเซปต์ วางลุคเครื่องแต่งกายตัวละครใน “เล่ห์ลุนตยา” ยังไง?   
 
อาจารย์ตุ้ย : “ในเรื่องนี้จะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ มีทั้งพาร์ทอดีต และปัจจุบัน ความยากเลยคือการทำให้มัน Relate (เชื่อมโยง) กันในสองยุค ทำให้คนดูและตัวเนื้อเรื่อง มันกำหนดเรื่องการผูกพันกันในกลุ่มผ้าลุนตยาตรงนี้ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องวางรูปแบบอย่างละเอียดว่าในพาร์ทอดีตรูปแบบเป็นยังไง มีลักษณะการใช้ยังไง หรือเขามีความทรงจำเกี่ยวกับอะไร และในปัจจุบันก็จะมีบางตัวละคร ที่มีอายุอยู่ต่อมาและยังมีความผูกพันอยู่ รวมทั้งกลุ่มตัวละครใหม่ ๆ ซึ่งที่เราวางเป็นพิเศษก็คือกลุ่มที่เป็นตัวละครหลัก เช่น ‘เจ้าหญิงมินพยู’ ที่ตัวบทมีการกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องใส่แบบไหน โครงสร้างอย่างไร เราก็จะวางตัวนั้นเป็นตัวหลักก่อน และก็ตัวละครอื่น ๆ จะเป็นการเสริมบทบาทให้ตัวมินพยู ขึ้นมา ตัวละครสองที่ยากลงมานั่นก็คือ ‘เอละวิน’ ที่รับบทโดย วาววา (ณิชชา โชคประจักษ์ชัด) เนื่องจากเขาอยู่ติดกับมินพยูตลอด เราก็จะวางลุคให้เขามีความเชื่อมโยงกัน หลัก ๆ เราจะวางสองตัวนี้ และใช้ลุนตยาในการเดินเรื่องทั้งหมด โดยสังเกตก็จะเห็นว่า ผ้าในยุคเก่า เราเลือกใช้ผ้าซิ่นลุนตยาอยู่แล้วในกลุ่มเจ้านาง ส่วนในสมัยปัจจุบัน เราก็จะสะท้อนให้เห็นว่ามันก็มีลุนตยานะ ซึ่งเป็นการแต่งการด้วยผ้าลุนตยาในแบบปัจจุบัน”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/

การคุมโทนเครื่องแต่งกาย โฟกัสที่เรื่องอะไรเป็นพิเศษ?
 
อาจารย์ตุ้ย : “บทกำหนดให้ว่า ‘เจ้าหญิงมินพยู’ มีความผูกพันกับสีชมพูเป็นหลัก เพราะฉะนั้นโทนของพี่ยุ้ยจะเป็นสีชมพู แต่เราก็พยายามเลือกเฉด และเลือกลายผ้าให้เกิดความแตกต่าง แม้กระทั่งตอนโดนประหารหรือผืนผ้าที่อยู่ในโปสเตอร์ หรือตอนเป็นผี ก็จะอยู่ในธีมสีชมพู ส่วนตัวอื่น ๆ อย่าง ‘เจ้าจา’, ‘เจ้าแสนดา’, ‘ยองตยา’ และ  ‘ยองตมาน’ ในประวัติศาสตร์ไม่ได้บอกว่าใครใส่อะไร สีอะไร เพราะฉะนั้นเราก็ปรุงต่อไปว่าสภาพแวดล้อมใคร มีลักษณะคาแรกเตอร์เป็นยังไง เพื่อให้เกิดความเด่นชัดในการถ่ายทำอย่าง เช่น ตัวร้ายคือตัวทำให้เกิดสีสัน ซึ่งในอดีตแบบเดิมเขาอาจไม่ได้ใส่สีแดง สีส้ม อันนี้ก็จะเป็นการปรุงเพิ่ม เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ละครประวัติศาสตร์ แต่เป็นนวนิยายที่เขียนเติมมาจากประวัติศาสตร์ และเมืองก็เป็นเมืองสมมุติ เพราะไม่อย่างนั้นเสื้อผ้าก็จะจืด อย่าง เจ้าจา, เจ้าแสนดา เราก็กำหนดให้สีชุดค่อยข้างทึม ให้ดูอยู่ในกฎระเบียบ อย่างตัวละคร ‘ติณโณ’ ในบทเดิมก็วางไว้เป็นทหาร ก็จะมีแบบหรือยูนิฟอร์มอยู่ แล้วก็จะมีชุดลำลองอยู่บ้างสีเอิร์ธโทน อย่างชุดทหาร ทั้งของพม่า หรือของทหารฝรั่ง เช่น ‘เดวิด’ ที่รับบทโดย อองตวน เราก็จะถอดแบบจากคำกล่าวอ้างฟอร์มทหารในยุคนั้น”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/






ความรู้สึกที่ได้มาร่วมออกแบบเครื่องแต่งกายให้ละครฟอร์มยักษ์ ที่มาจากนิยายผ้าเรื่องดัง?
 
อาจารย์ตุ้ย : “รู้สึกภูมิใจนะครับ เพราะ ‘เล่ห์ลุนตยา’ เป็นเรื่องของนวนิยายที่ชื่อดังและมีคนสนใจ พอพูดถึงเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีเครื่องแต่งกายนี้อยู่ คนในปัจจุบันก็ค่อนข้างที่จะสนใจในเรื่องนี้ ทำให้มีความกดดันนิดหน่อย แต่โดยทั้งหมดแล้วเราก็ภาคภูมิใจที่ได้ร่วมโปรดักชั่นเรื่องนี้ พอเราได้อ่านเรื่องเล่ห์ลุนตยา เราก็ใฝ่ฝันว่าเราจะมีโอกาสมั้ย ที่เราจะได้ทำเรื่องนี้ แล้วพอได้มีโอกาสได้ถูกเรียกไปว่าเราสนใจร่วมงานมั้ย เราตกลงทันที เรามีแรงบันดาลใจบางอย่างที่อยากจะทำ บวกกับเราเองเป็นคนที่สะสมผ้าด้วย มีความรู้สึกผูกพันกับผ้าโดยเฉพาะผ้าลุนตยาครับ”... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/



ยิ่งเจาะลึกความเป็นมา ยิ่งเห็นเสน่ห์ของ  “ผ้าลุนตยา” ที่มีมนต์ขลังจริงๆ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1234050/


ที่มา
https://www.dailynews.co.th/news/1234050/

สิ่งทอ,สิ่งทอ