หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / อุตสาหกรรมรองเท้าและหนังของเวียดนามมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง

อุตสาหกรรมรองเท้าและหนังของเวียดนามมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง

กลับหน้าหลัก
18.06.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 1599

อุตสาหกรรมรองเท้าและหนังของเวียดนามมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง

สมาคมหนัง รองเท้า และกระเป๋าถือแห่งประเทศเวียดนาม (the Việt Nam Leather, Footwear and Handbag Association, Lefaso) กล่าวว่าอุตสาหกรรมหนัง รองเท้า และกระเป๋ถือาของเวียดนามจะยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง - Diệp Thành Kiệt - รองประธาน Lefaso กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสุดยอดผู้นำรองเท้าของเวียดนาม (Việt Nam Footwear Summit) ที่จัดขึ้น ณ เมืองโฮจิมินห์ซิตี้

สมาคมหนัง รองเท้า และกระเป๋าของเวียดนามได้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำรองเท้า หรือ Việt Nam Footwear Summit ที่จัดขึ้น ณ เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ โดยนาย Dach Kiec Kiệt, รองประธาน Lefaso กล่าวในการแถลงข่าวในการประชุมสุดยอดผู้นำรองเท้าของเวียดนามว่ามูลค่าการส่งออกรองเท้าและกระเป๋าในปี 2017 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 18.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 16.2 พันล้านเหรียญในปี 2016

มีโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมที่จะดำเนินการต่อยอดการพัฒนา

เวียดนามมีข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศสำคัญๆ เช่นญี่ปุ่น รัสเซีย คาซัคสถานและเบลารุส เกาหลีใต้และอาเซียน ฯลฯ นอกเจากนั้น ยังมี CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) ที่ครอบคลุมความร่วมมือระหว่างประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกและข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (VN-EU FTA)

“เวียดนามมีอัตราส่วนบุคลากรถึงร้อยละ 66.9 ของประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน ทำให้มีแรงงานราคาถูกและมีฝีมือจำนวนมาก เวียดนามสามารถจัดหาวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมหนัง รองเท้า และกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลก นอกจากนั้นประเทศเวียดนามก็ประสบความสำเร็จในการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง และนี่เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับอุตสาหกรรม หากยังคงมีการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูงต่อไปเช่นนี้ อุตสาหกรรมหนัง รองเท้าของเวียดนาม จะมีการพัฒนาอย่างเข้มแข็งมาก”, นาย Dach Kiec Kiệt, รองประธาน Lefaso กล่าว และกล่าวเสริมว่า การถอนตัวของสหรัฐฯ จาก TPP ไม่ได้มีผลกระทบมากนักต่อการส่งออกรองเท้าของเวียดนามไปยังสหรัฐอเมริกา

สหรัฐฯ นำเข้ารองเท้าจำนวน 2.39 พันล้านคู่ในปี 2017 และค่าใช้จ่ายในการซื้อรองเท้าต่อหัว หรือ Per capita spending on footwear สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2017 และแม้จีนเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในตลาด แต่ส่วนแบ่งของจีนก็เริ่มลดลง ในขณะที่เวียดนามก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และสำหรับ EU การยกเลิกภาษีศุลกากรทั้งหมดสำหรับเครื่องหนังและกระเป๋า และร้อยละ 37 ของรองเท้า ทันทีที่ VN-EU FTA มีผลบังคับใช้ แต่ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามกฎกติกาของแหล่งกำเนิดสินค้าและอุปสรรคทางเทคนิคในการค้าสินค้าเกี่ยวกับการติดฉลากการประเมินความสอดคล้องและการเฝ้าระวังการตลาด

ความท้าทาย

ความท้าทายที่อุตสาหกรรมหนังและร้องเท้าต้องเผชิญ เช่น การเพิ่มต้นทุนแรงงาน ระบบอัตโนมัติ การปกป้องและการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจะต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนายกระดับอุตสาหกรรม

ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2017 ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 3.02 เท่าในขณะที่ GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นเพียง 2.04 เท่า ดังนั้นถ้าไม่ได้เพิ่มผลผลิต ต้นทุนแรงงานก็จะกลายเป็นต้นทุนสำคัญของอุตสาหกรรมในระยะยาว ลูกค้ารายใหญ่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนคำสั่งซื้อไปยังประเทศที่มีต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่เรียบง่ายและเป็นของตนเอง แต่ในระยะยาวถ้าเวียดนามไม่ปรับกลยุทธ์ เวียดนามก็จะสูญเสียคำสั่งซื้อไปยังกัมพูชา พม่า บังกลาเทศ หรือเอธิโอเปีย การใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยี 4.0 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่กว่าร้อยละ 75 ของบริษัทรองเท้าเป็นบริษัท ขนาดเล็กและเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะลงทุนในเรื่องดังกล่าว

แรงงานที่มีต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับประกันความสำเร็จได้ ประเทศที่ยกระดับห่วงโซ่คุณค่ามักจะหยุดการผลิตรองเท้า ดังนั้นบรรดาผู้ผลิตรองเท้าจะต้องมี “ความซับซ้อน” มากขึ้นในการทำงาน และบริษัทจำเป็นต้องขับเคลื่อนประสิทธิภาพและการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลกับคนอื่นๆ  การใช้ระบบอัตโนมัติที่เหมาะสม สามารถขจัดคนงานที่เหลือเฟือและทำให้โรงงานมีประสิทธิภาพและทำกำไรได้มากขึ้น

แผนพัฒนาอุตสาหกรรมมีเป้าหมายในการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน และการใช้ FTA ของประเทศในการขยายการส่งออกให้ดียิ่งขึ้น มีแผนที่จะปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่ม ปรับปรุงการออกแบบและมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปานกลางสำหรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งใช้โซลูชันระบบอัตโนมัติมากขึ้น และนี่เป็นโอกาสที่แท้จริงสำหรับประเทศเวียดนามเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอีกหลายทศวรรษ

ในประเทศเวียดนามมีผู้ประกอบการ 939 รายซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 3 และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก โดยมีสหรัฐฯเป็นประเทศผู้นำเข้ารองเท้าและกระเป๋าของเวียดนาม (คิดเป็นร้อยละ 35.9) รองลงมาคือสหภาพยุโรป (30.6 เปอร์เซ็นต์) จีน (6.4 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (6.3 เปอร์เซ็นต์) และเกาหลีใต้ (2.8% )

ที่มา: http://vietnamnews.vn/economy

แปลและเรียบเรียง: นายชาติชาย สิงหเดช - ที่ปรึกษา สถาบันพัฒนาอุตสหกรรมสิ่งทอ

การเติบโต ภาวะเครื่องหนัง รองเท้า อุตสาหกรรม เครื่องหนัง เวียดนาม