หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 80 (เดือนพฤศจิกายน 2564)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 80 (เดือนพฤศจิกายน 2564)

กลับหน้าหลัก
26.11.2564 | จำนวนผู้เข้าชม 307

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน 

ฉบับที่ 80 (เดือนพฤศจิกายน 2564)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

ชวนชม! “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” สร้างมูลค่าเพิ่มสู่อุตฯเชิงพาณิชย์

ที่ผ่านมา "ผักตบชวา" เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงและเป็นวัสดุเหลือทิ้งจำนวนมาก ทีมวิจัยมทร.ราชมงคลธัญบุรี จึงนำผักตบชวามาผลิตเป็นเส้นด้ายและผ้าขึ้น จนเกิดเป็น “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” โดยนวัตกรรมในครั้งนี้ถูกจัดแสดงในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564" ด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้ “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” ทางทีมวิจัยได้ของบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.สำหรับการดำเนินการในปีแรก ผลิตเป็นเส้นด้ายและผ้าจากผักตบชวาขึ้นมาก่อน จนกระทั่งปี 2563 ได้งบจาก ปตท. สนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนให้ชุมชนได้ใช้ ตอนนั้นมีผ้าแล้ว ก็นำผ้านี้ไปถ่ายทอดให้เขาเพื่อเป็นอีกทางเลือกที่นอกจากผ้าไทยที่เขาจะหาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ให้สามารถใช้ผ้าผักตบไปผลิตเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกันยายน 2564

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกันยายน 2564

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 554.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 360.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 193.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 408.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 283.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 124.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.7 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 146.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เดือนกันยายน 2564

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนกันยายน 2564

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนกันยายน 2564 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 130.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.40 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 87.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.49 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.47 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 129.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลงร้อยละ 20.64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 100.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลงร้อยละ 17.20 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 29.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 30.63 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 0.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2564

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 55.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 16,125.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 7,198.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.60 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,281.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 27.42 โดยนับเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะเดือนกันยายนเพียงเดือนเดียว มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าร้อยละ 25.51

ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2563 และปี 2564

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

Eco-Friendly Jewelry...ทางเลือกใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สินค้าแฟชั่นรักษ์โลกอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป โดยรวมหมายถึงสินค้าแฟชั่นที่คำนึงถึงกระบวนการผลิตสินค้าครบวงจรตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบจนถึงปัจจัยแวดล้อมที่จะได้รับผลกระทบจากการผลิต รวมถึงประเด็นของการใช้แรงงานในกระบวนการผลิตอย่างเป็นธรรม ในปัจจุบันปัจจัยหลักของกระบวนการผลิตสินค้าและการแสวงหาวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าแฟชั่นรักษ์โลกให้ความสำคัญมี 5 ประการดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

บริษัท ไทยอคริลิค ไฟเบอร์ จำกัด ติดตามเส้นใย Radianza โดยใช้บล็อกเชน

บริษัท ไทยอคริลิค ไฟเบอร์ จำกัด บริษัทในเครือ อดิตยา เบอร์ล่า กรุ๊ป ผู้ผลิตเส้นใยอะคริลิกได้เปิดตัวแพลตฟอร์มตรวจสอบย้อนกลับเพื่อติดตามเส้นใย Radianza

แพลตฟอร์มดังกล่าวใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งจะเสริมสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์สำหรับแบรนด์ ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคที่ใช้เส้นใย Radianza แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Licof ในแคนาดา

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

จับสัญญาณ การเปลี่ยนแปลงจากแฟชั่น สู่เครื่องประดับ

“The trends that have unfolded in the apparel sector over the last three decades appear to be playing out in the jewelry sector, but at a much faster pace.”

Linda Dauriz, Nathalie Remy, and Thomas Tochtermann

ประโยคข้างต้นพาดหัวอยู่ในบทความหนึ่งที่พูดถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ทำให้เห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่มีความเชื่อมโยงกันในทางใดทางหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่ง ดังเช่น การเปลี่ยนแปลงของโลกเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกของเครื่องประดับไปด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

สถาบันฯสิ่งทอ ร่วมงานเปิดตัว สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย

 

(17 พ.ย. 64) สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (Thai Industrial Hemp Trade Association: TIHTA) เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรก บุกยึดพื้นที่ความสนใจกลางกรุง พันธมิตรภาครัฐเอกชน ตบเท้าร่วมงานแข็งแกร่ง ระหว่าง วันที่ 17 – 21 พ.ย. 64 นำโดย นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ภก. อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ มร.โทมัส แวน ลูเวน อุปทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย โดยได้รับการต้อนรับจากทางสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย นำโดย ดร.วีระชัย ณ นคร ประธานกิตติมศักดิ์ นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคม และนางพรทิพย์ อัษฎาธร เลขาธิการ ณ ควอเทียร์ แกลอรี่, ชั้น M ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.80, เดือนพฤศจิกายน, ปี 2564, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม