จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือนฉบับที่ 79 (เดือนตุลาคม 2564) |
Business ข้อมูลธุรกิจ |
ข่าว : ‘DITP’ จัดใหญ่! ระดมสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นของไทย หนุนเอสเอ็มอี ฝ่าวิกฤติโควิด-19
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ขานรับนโยบาย “จุรินทร์” ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและการส่งออกเชิงรุก เตรียมจัดงาน “The Marche’ by STYLE Bangkok” มิติใหม่แบบ New Normal หนุนผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นไทย คาดช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศในช่วงโควิด กำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 6-10 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์และแฟชั่นของไทยมีศักยภาพและได้รับการยอมรับในเวทีโลก ทั้งด้านวัตถุดิบในการผลิตที่หลากหลาย และผู้ประกอบการไทยที่มีฝีมือประณีต ทำให้ผลิตภัณฑ์ไทยมีความโดดเด่นทั้งในด้านดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งาน |
ข้อมูลตลาด : สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนสิงหาคม 2564
ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนสิงหาคม 2564 ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 516.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 338.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 178.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 444.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 313.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 131.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 72.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เดือนสิงหาคม 2564
ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนสิงหาคม 2564 ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 124.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 80.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.40 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 44.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.77 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 125.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 91.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.75 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 33.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.00 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 0.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ |
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2564 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 57.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 15,200.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 6,427.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.63 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,747.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 27.69 โดยนับเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียว มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าร้อยละ 35.684 ตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563 และปี 2564
|
Design ออกแบบ |
แนวทางการออกแบบเครื่องประดับและอัญมณีรับกระแสแฟชั่นล่าสุด
เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ช่วงหลังล็อคดาวน์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาอีกครั้ง แวดวงแฟชั่นก็กลับมาคึกคักด้วยเช่นกัน แบรนด์ของนักออกแบบต่างหวนคืนสู่รันเวย์ด้วยคอลเลกชันที่สะท้อนความเบิกบานหลังการฟื้นตัวแต่ก็แฝงไว้ด้วยการคิดคำนึงถึงความท้าทายที่เพิ่งผ่านมา ซึ่งทำให้การออกแบบเครื่องประดับปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกระแสเทรนด์และบริบทตามพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงนี้ด้วยวัสดุที่ทันกระแสแฟชั่น และดีไซน์ที่สะท้อนถึงมุมมองต่างๆ ที่สอดรับการการแต่งกายมากขึ้น ซึ่งแนวทางการออกแบบมีดังนี้ |
Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี |
ราล์ฟ ลอเรน เปิดตัวเทคโนโลยีในชุดของทีมนักกีฬาสหรัฐอเมริกา
แนวคิด : ราล์ฟ ลอเรน บริษัทแฟชั่นสัญชาติอเมริกันเปิดตัวชุดของทีมนักกีฬาสหรัฐอเมริกาที่จะทำการสวมใส่ในพิธีปิดการแข่งขันโตเกียว โอลิมปิก 2020 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี RL Cooling ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบายความร้อนไปในตัว โดยนักกีฬาทีมชาติสหรัฐอเมริกาจะใส่เดินขบวนพาเหรด เพื่อให้นักกีฬาได้รู้สึกเย็นสบายท่ามกลางอากาศร้อนในระหว่างพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก |
Quality มาตรฐานคุณภาพ |
Crocs เปิดตัววัสดุชีวภาพเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
Crocs ได้เริ่มใช้วัสดุที่เรียกว่า Croslite ซึ่งเป็นวัสดุพิเศษ เรซิ่นซีซีอาร์ (closed-cell resin) ช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 50% ต่อรองเท้าหนึ่งคู่ให้ได้ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2573 นอกจากการเปิดตัววัสดุ Croslite แล้ว แบรนด์ยังมุ่งมั่นที่จะแบรนด์วีแกน 100% ภายในปี 2564 Crocs กำลังมองหาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับบรรจุภัณฑ์และวิธีทำให้รองเท้า Crocs สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งหลังจากที่ผู้บริโภคนำมาบริจาคหรือผ่านการรีไซเคิล |
THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ |
15 ตุลา ครบรอบ 25 ปี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร พนักงาน สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมจัดกิจกรรมทำบุญเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 25 ปี ในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ภายในงานจัดให้มีการเผยแพร่ผ่านทางระบบซูมเพื่อให้คณะผู้บริหารและพนักงานได้เข้าร่วมผ่านระบบด้งกล่าว โดยมิต้องเดินทางมารวมตัวกัน ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้มาตรการป้องการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด |