หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนสิงหาคม 2564

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนสิงหาคม 2564

กลับหน้าหลัก
05.10.2564 | จำนวนผู้เข้าชม 19078

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนสิงหาคม 2564 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 516.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 338.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 178.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 444.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 313.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 131.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.1 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 72.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 8 เดือน (เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 4,218.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,733.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,485.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 8 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 3,381.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,317.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,064.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 836.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า ด้วยฐานการส่งออกที่อยู่ที่เกณฑ์ต่ำในปีที่ผ่านมา จึงส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1, 42.5, 4.2 และ 0.1  และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า มีเพียงผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออก 72.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปากีสถาน จีน และสหรัฐอเมริกา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.2, 67.3 และ 7.0 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 601.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และปากีสถาน ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) เช่นเดียวกันที่ร้อยละ 66.7 และ 38.2 

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออก 57.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น และบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.1 และ 34.5

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 442.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 23.0, 37.0 และ 56.7 ตามลำดับ

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 93.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6, 92.1 และ 1.7 ตามลำดับ 

และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 758.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) เช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน กัมพูชา และบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 23.3, 6.5 และ 30.1 ตามลำดับ 

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการส่งออก 178.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 13.2  

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 1,485.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา (สะสม) 8 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ด้าย และผ้าผืน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่ร้อยละ 82.2 และ 37.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ที่ร้อยละ 18.9 และ 7.2 

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 147.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่นำเข้าเพิ่มขึ้นใน 3 ตลาดหลักดังกล่าว

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 1,016.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 26.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) เมื่อพิจารณาในรายตลาด พบว่า มีการนำเข้าจากตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 26.7, 0.03 และ 31.2 ตามลำดับ 

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 165.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน ไต้หวัน และเวียดนาม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1, 80.2 และ 29.1 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 1,300.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) จากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน ที่ร้อยละ 28.5, 45.0 และ 23.0 ตามลำดับ

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนสิงหาคม 2564 และ (สะสม) เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าการนำเข้า 65.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีน และเวียดนาม ขณะที่การนำเข้าจากตลาดฮ่องกง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.7

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 8 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 623.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยนำเข้าลดลง (สะสม) จากตลาดจีนและเวียดนาม ขณะที่การนำเข้าจากตลาดอิตาลี นำเข้า (สะสม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ และมีบางผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดปากีสถานและสหรัฐอเมริกา ที่ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.7 และ 28.6

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เส้นด้าย จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและบังคลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และ 10.3 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน ที่ในเดือนนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.9

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่หากพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์ผ้าผืน จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า มีการปรับตัวลดลงในตลาดทั้ง 3 อันดับแรก ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.6, 6.0 และ 18.3 ตามลำดับ

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อพิจารณาในรายตลาดการส่งออกของผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม จากตลาดการส่งออกทั้ง 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และ 10.7 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.6

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)

และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเกือบทุกผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ของตลาดการนำเข้าทั้ง 3 อันดับแรก ได้แก่ ตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย นำเข้าเพิ่มขึ้นนร้อยละ 1.9, 39.1 และ 154.6 ตามลำดับ

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าจากตลาดจีนและไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 40.4 ขณะที่การนำเข้าจากตลาดเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.5 

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและเวียดนาม ลดลงร้อยละ 4.2 และ 28.6 แต่ในเดือนนี้มีการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นจากตลาดฮ่องกง

ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนสิงหาคม 2564

สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 516.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า

การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือที่มูลค่าการส่งออกรวม 59.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกันกับการส่งออกไปยังตลาดอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือที่มูลค่าการส่งออกรวม 23.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ขณะที่การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1, 9.0 และ 13.6 หรือที่มูลค่า 95.2, 35.2 และ 32.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ 

คาดการณ์ว่า การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มในประเทศ จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวประมาณ 3-6 เดือนต่อจากนี้ หรือประมาณการที่ไตรมาส 1 ปี 2565 โดยมีปัจจัยหนุนจากการคลายล็อคดาวน์และผู้คนต่างหันกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของไทย รวมถึงเริ่มมีการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน

-------------------------------------------------

Source : 

1) Information and Communication Technology Center with Cooperation of The Customs Department


จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

4 ตุลาคม 2564

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2564, เดือนสิงหาคม, สะสม 8 เดือน, มกราคม-สิงหาคม, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'65