ภาพรวมโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า (สะสม) ณ เดือนมกราคม-มีนาคม 2561 พบว่า มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ(ใหม่) มีจำนวน 7 โรงงาน เงินลงทุนรวม 571.4 ล้านบาท และคนงานรวม 406 คน โดยประเภทโรงงานที่มีการประกอบกิจการ(ใหม่) สูงสุด ได้แก่ โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ปนหรือบด ฟอก ขัด และแต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ จำนวน 3 โรงงาน เงินลงทุน 545.5 ล้านบาท
ตารางที่ 1 : จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561
ที่มา : *กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ
ตารางที่ 2 : จำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561
ที่มา : *กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
รวบรวมและเรียบเรียง : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมส่ิงทอ
จากตารางที่ 2 พบว่า ภาพรวมจำนวนแรงงานสะสมในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า (สะสม) เดือนมกราคม-มีนาคม 2561 มีจำนวนแรงงานที่เข้าระบบในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการกิจการ (ใหม่) จำนวน 406 ราย และจำนวนแรงงานที่ออกจากระบบในโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) จำนวน 96 ราย ทั้งนี้ ไม่ปรากฎจำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบของโรงงานที่ขยายกิจการ
ทั้งนี้ ภาพรวมโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในไตรมาส 1/2561 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2561) มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (ใหม่) มีจำนวน 7 โรงงาน เงินลงทุน 571.4 ล้านบาท และคนงานรวม 406 คน ประกอบด้วย
โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ปนหรือบด ฟอก ขัดและแต่งสำเร็จอัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ จำนวน 3 โรงงาน
โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจาก (4)ใยแก้ว จำนวน 2 โรงงาน
โรงงาน 1) ผลิตรองเท้า หรือชิ้นส่วนของรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง ยางอัดเข้ารูป หรือพลาสติกอัดเข้ารูป และ 2) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากพลาสติกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง (7)การทำรองเท้า หรือชิ้นส่วนของรองเท้า ประเภทพละ 1 โรงงาน
ในขณะที่ภาพรวมโรงงานที่จำหน่ายทะเบียนโรงงาน (ยกเลิกกิจการ) มีจำนวน 3 โรงงาน เงินลงทุน 38.9 ล้านบาท และคนงานรวม 96 คน ประกอบด้วย
โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ปนหรือบด ฟอก ขัดและแต่งสำเร็จอัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ จำนวน 1 โรงงาน
โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจาก (3)หนังสัตว์ ขนสัตว์ เขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หนังเทียม จำนวน 1 โรงงาน
และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายหรือรองเท้าจาก (4)ใยแก้ว จำนวน 1 โรงงาน
ทั้งนี้ ไม่ปรากฎโรงงานที่ขยายกิจการในช่วงเวลาดังกล่าว
รวบรวมและเรียบเรียง
ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ