หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ประจำปี 2563

สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ประจำปี 2563

กลับหน้าหลัก
12.02.2564 | จำนวนผู้เข้าชม 4445

สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ประจำปี 2563

ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2563 นั้น มีอัตราการเติบโตร้อยละ 15.94 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 33.51 โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งการส่งออกและนำเข้า แต่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไม่รวมทองคำฯ จะพบว่า หดตัวลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 40.09 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2564 มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2563 เนื่องจากปัจจัยบวกของความก้าวหน้าของวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 และพฤติกรรมของคนทั่วไปปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ได้มากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจมีแนวโน้มคลี่คลายมากขึ้น 

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินเหรียญสหรัฐตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71* ในปี 2563 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.94 (ร้อยละ 16.52 ในหน่วยของเงินบาท) จากเดิมในปี 2562 ที่มีมูลค่า 15,689.44 ล้านเหรียญสหรัฐ (486,157.73 ล้านบาท) มาอยู่ที่ 18,190.12 ล้านเหรียญสหรัฐ (566,463.71 ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,850.20  ล้านเหรียญสหรัฐ (149,607.18 ล้านบาท) หดตัวลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 40.09 (ร้อยละ 40.30 ในหน่วยของเงินบาท)

ส่วนการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 33.51 (ร้อยละ 33.69 ในหน่วยของเงินบาท) จากมูลค่า 12,146.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (381,075.11 ล้านบาท) มาอยู่ที่ 8,075.67 ล้านเหรียญสหรัฐ (252,680.91 ล้านบาท)

ทั้งนี้ หากพิจารณาดุลการค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับพบว่าในปี 2563 ไทยเกินดุลการค้า 10,114.45 ล้านเหรียญสหรัฐ อันเป็นผลจากการส่งออกทองคำฯ ในสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ด้วยมูลค่า 13,339.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตสูงถึงร้อยละ 75.67 เมื่อเทียบกับปี 2562 ดังแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1  มูลค่าการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2553-2563

1. สถานการณ์การส่งออก

สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในปี 2563 คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป ในสัดส่วนร้อยละ 73.34 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย และมีมูลค่าเติบโตถึงร้อยละ 75.67 อันเป็นผลจากการส่งออกเพื่อทำกำไรในส่วนต่างของราคา เนื่องด้วยราคาทองคำในตลาดโลกตลอดรอบปีปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี กระทั่งทำสถิติ New High ในเดือนสิงหาคม โดยราคาทองคำเฉลี่ยของปี 2563 อยู่ที่ระดับ 1,769.64 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ (http://www.kitco.com) ซึ่งปัจจัยหนุนราคาทองคำมาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้นักลงทุนหันมาเก็งกำไรในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจในหลายประเทศต่างประสบปัญหาจากการล็อคดาวน์ การผ่อนคลายมาตรการทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี แม้ว่าช่วงปลายปีจะมีข่าวความคืบหน้าการผลิตวัคซีนเพื่อต้านไวรัสโควิด-19 แต่สถานการณ์ต่างๆ ยังมีความไม่แน่นอนสูง อีกทั้งกองทุน SPDR Gold Trust และนักลงทุนมีการเข้าซื้อทองคำต่อเนื่องตลอดปี ทั้งนี้ตลาดส่งออกทองคำฯ ใน 3 อันดับแรกของไทย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการส่งออกไปยังทั้งสามตลาดดังกล่าวขยายตัวสูงถึงร้อยละ 58.55, 2.34 เท่า และร้อยละ 42.02 ตามลำดับ 

เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.41 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 29.01 โดยการส่งออก เครื่องประดับทอง ลดลงร้อยละ 42.81 เนื่องมาจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เครื่องประดับทองมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ผู้บริโภคบางส่วนจึงลดการซื้อทองรูปพรรณและขายออกเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างมากกว่าซื้อเพื่อถือครอง รวมทั้งหันไปซื้อทองคำแท่งเพื่อเก็งกำไรเพิ่มขึ้น อีกทั้งหลายตลาดสำคัญล้วนประสบปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ไทยส่งออกเครื่องประดับทองไปยังตลาดหลักใน 5 อันดับแรกลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และอิตาลี ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 25.27, ร้อยละ 64.27, ร้อยละ 43.43, ร้อยละ 3.38 และร้อยละ 59.42 ตามลำดับ เครื่องประดับเงิน ลดลงร้อยละ 9.40 สาเหตุหลักมาจากราคาแร่เงินพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี เป็นผลจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โลหะเงินจึงเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกประเภทหนึ่งนอกจากทองคำ ขณะที่การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยโดยรวมลดลง เครื่องประดับเงินจึงได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย มีผลทำให้ไทยส่งออกไปยังหลายตลาดได้ลดลง  โดยตลาดหลักในอันดับ 1, 2, 3 และ 5 อย่างเยอรมนี สหรัฐอเมริกา จีน และสหราชอาณาจักร ต่างมีมูลค่าลดลงร้อยละ 2.71, ร้อยละ 2.96, ร้อยละ 22.60 และร้อยละ  23.57 ตามลำดับ มีเพียงออสเตรเลีย ตลาดในลำดับที่ 4 ขยายตัวได้ร้อยละ 18.79 เครื่องประดับแพลทินัม หดตัวลงร้อยละ 15.59 จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง ตลาดในอันดับ 1, 3, 4 และ 5 ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.95 ร้อยละ 23.49 ร้อยละ 44.77 และร้อยละ 55.43 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ตลาดอันดับที่ 2 ขยายตัวได้สูงกว่า 4.64 เท่า ทั้งนี้ World Platinum Investment Council คาดการณ์ว่าในปี 2564 ความต้องการเครื่องประดับแพลทินัมของโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ส่วนหนึ่งมาจากการฟื้นตัวของจีนตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ของปี 2563 

เพชร เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับ 3 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 5.20 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.87  โดยมีเพชรเจียระไนเป็นสินค้าส่งออกหลัก ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 35.81 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ในขณะเดียวกันเพชรสังเคราะห์ซึ่งราคาถูกกว่าเพชรแท้ราวร้อยละ 45-50 และสามารถทดแทนกันได้เป็นที่นิยมมากขึ้น อีกทั้งจำนวนคู่แต่งงานลดลงในหลายประเทศจากการล็อคดาวน์และความกลัวการแพร่ระบาด มีผลทำให้ไทยส่งออกไปยังฮ่องกง อินเดีย เบลเยียม สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดใน 5 อันดับแรกได้ลดลงร้อยละ 33.74, ร้อยละ 17.09, ร้อยละ 47.48 ร้อยละ 34.34 และร้อยละ 47.94 ตามลำดับ 

พลอยสี เป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 4 ในสัดส่วนร้อยละ 3.02 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทย หดตัวลงถึงร้อยละ 61.84 โดยสินค้าส่งออกหลักในหมวดนี้เป็น พลอยเนื้อแข็งเจียระไน (ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต) ปรับตัวลดลงร้อยละ 61.81 อันเนื่องมาจากการส่งออกไปยังตลาดหลักใน 5 อันดับแรกอย่างฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และฝรั่งเศส ได้ลดลงร้อยละ 78.44, ร้อยละ 34.73, ร้อยละ 59.50, ร้อยละ 44.51และร้อยละ 17.66 ตามลำดับ พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน หดตัวลงร้อยละ 58.78 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และอินเดีย ตลาดในอันดับที่ 1-4 ได้ลดลงร้อยละ 16.78, ร้อยละ 78.40, ร้อยละ 33.30 และร้อยละ 85.28 ตามลำดับ มีเพียงการส่งออกไปยังอิตาลี ตลาดในอันดับ 5 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67

เครื่องประดับเทียม เป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 5 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 1.34 ปรับตัวลดลงร้อยละ 41.80 เนื่องจากการส่งออกไปยังลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 1, 2, 4 และ 5 ได้ลดลง ร้อยละ 67.28, ร้อยละ 16.22, ร้อยละ 67.85 และร้อยละ 12.93 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังฮ่องกง ตลาดสำคัญลำดับที่ 3 ยังเติบโตได้ร้อยละ 11.21 

ตารางที่ 1  มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2562 และ 2563

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (รวมทองคำ) ที่มีมูลค่าสูงสุดในปีนี้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ด้วยสัดส่วนร้อยละ 38.69 มีอัตราการเติบโตร้อยละ 48.82 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกทองคำฯ สินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 99 ได้เพิ่มสูงกว่าร้อยละ 58

สิงคโปร์ เป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในอันดับ 2 ในสัดส่วนร้อยละ 21.94 ด้วยมูลค่าเติบโตกว่า 1.38 เท่า จากการส่งออกสินค้าสำคัญอย่างทองคำฯ  เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเงิน ซึ่งขยายตัวสูงกว่า 2.34 เท่า ร้อยละ 1.54 และร้อยละ 12.92 ตามลำดับ ขณะที่ไทยส่งออกสินค้ารายการอื่นๆ อย่างเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 85.53 และร้อยละ 67.85 ตามลำดับ

ฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกในอันดับ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.85 ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.58 จากการส่งออกสินค้าหลักในสัดส่วนราวร้อยละ 69 อย่างทองคำฯ ได้สูงกว่า 1.75 เท่า ส่วนสินค้าสำคัญอื่นๆ หดตัวลงไม่ว่าจะเป็นเพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อน-เจียระไน ที่ต่างมีมูลค่าลดลงร้อยละ 33.74, ร้อยละ 64.27, ร้อยละ 78.44 และร้อยละ 78.40 ตามลำดับ

ออสเตรเลีย เป็นตลาดส่งออกในอันดับที่ 4 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 6.97 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.15 เนื่องมาจากการส่งออกทองคำ ซึ่งเป็นสินค้าหลักในสัดส่วนกว่าร้อยละ 86 และสินค้ารองลงมาอย่างเครื่องประดับเงินได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.02 และร้อยละ 18.79 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกสินค้าสำคัญอื่นอย่างเครื่องประดับทอง ปรับตัวลงมาร้อยละ 12.14

ส่วนตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่สำคัญในอันดับ 5 คือ สหรัฐอเมริกา ในสัดส่วนร้อยละ 5.72 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 18.16 จากการส่งออกสินค้าหลักอย่างเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองได้ลดลง รวมถึงสินค้าอื่นอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชรเจียระไน ได้ลดลงร้อยละ 2.96 ร้อยละ 25.27 ร้อยละ 34.73 ร้อยละ 16.78 และร้อยละ 34.34 ตามลำดับ 

แผนภาพที่ 2 ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2563

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินเหรียญสหรัฐ (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ดังตารางที่ 2 จะเห็นว่า ปี 2563 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.09 อันเป็นผลมาจากการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายช่วงเวลาตลอดปีที่ผ่านมาในหลายประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนต้องกันเงินไว้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเพื่อสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไทยส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังตลาดสำคัญได้ลดลงไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน 

มูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปปรับตัวลดลงร้อยละ 26.14 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังเยอรมนี ตลาดที่ครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 46 ได้ลดลงร้อยละ 2.02 ซึ่งน้อยกว่าตลาดสำคัญอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากเศรษฐกิจของเยอรมนีหดตัวน้อยกว่าคาดการณ์อันเนื่องมาจากมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ช่วยบรรเทาความเสียหายทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังตลาดนี้ลดลง คือเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทอง หดตัวลงร้อยละ 2.71 และร้อยละ 22.03 ตามลำดับ เบลเยียม ตลาดในอันดับ 2 ปรับตัวลงร้อยละ 46.67 โดยสินค้าส่งออกหลักกว่าร้อยละ 85 เป็นเพชรเจียระไนและสินค้ารองลงมาเป็นเพชรก้อนมีมูลค่าลดลง ส่วนการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร อิตาลี และฝรั่งเศส ตลาดในอันดับ 3, 4 และ 5 หดตัวลงร้อยละ 40.25, ร้อยละ 51.83 และร้อยละ 19.93 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังทั้ง 3 ตลาด คือ เครื่องประดับ-ทอง ซึ่งมีมูลค่าลดลงมาก 

การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาหดตัวลงร้อยละ 18.18 ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งสหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงที่สุดในโลก ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย ชาวอเมริกันจึงระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย อีกทั้งมีผลกระทบต่อร้านค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งมีอยู่จำนวนมากต้องปิดหน้าร้านและสาขาชั่วคราว มีส่วนทำให้การนำเข้าสินค้า อัญมณีและเครื่องประดับจากต่างประเทศรวมทั้งไทยมีมูลค่าลดลง

การส่งออกไปยังฮ่องกงมีมูลค่าลดลงร้อยละ 59.05 ซึ่งฮ่องกงเป็นผู้นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับประสบปัญหาการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีนและสหรัฐฯ จากการที่ประเทศคู่ค้าล็อคดาวน์ รวมทั้งถูกสหรัฐฯ ยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้า อันเนื่องมาจากการทำสงครามการค้าของสหรัฐฯ-จีน จึงนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง ได้แก่ เพชรเจียระไน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ที่ต่างปรับตัวลงร้อยละ 33.74, ร้อยละ 64.27, ร้อยละ 78.44 และร้อยละ 78.40 ตามลำดับ

มูลค่าส่งออกไปยังอินเดียลดลงร้อยละ 44.57 เนื่องจากเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงอันดับต้นๆ ของโลก มีการล็อคดาวน์ งดเว้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ทำให้อยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่อง ธุรกิจหลายแห่งต้องปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุน กำลังซื้อโดยรวมจึงถดถอยลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ไปยังตลาดนี้ได้ลดลง ได้แก่ เพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอย-ก้อน พลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน ที่ล้วนปรับตัวลงร้อยละ 17.09, ร้อยละ 11.17, ร้อยละ 75.94, ร้อยละ 56.30 และร้อยละ 85.28 ตามลำดับ ซึ่งอินเดียนำเข้าไปผลิตเป็นเครื่องประดับเพื่อจำหน่ายในประเทศส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ งานแต่งงานถือเป็นส่วนกระตุ้นการบริโภคเครื่องประดับแต่ทว่าคู่รักชาวอินเดียจำนวนมากจำเป็นต้องเลื่อนงานแต่งงานออกไปอย่างไม่มีกำหนด ทำให้การบริโภคส่วนนี้หายไปด้วย

การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีมูลค่า

หดตัวลงถึงร้อยละ 43.03 อันเป็นผลจากการส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลาดหลักอันดับ 1 ของไทยในภูมิภาคนี้ได้ลดลงร้อยละ 45.75 โดยสินค้าส่งออกหลักไปยังตลาดนี้อย่างเครื่องประดับทองลดลงร้อยละ 43.43 เนื่องจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันสินค้าส่งออกหลักของประเทศตะวันออกกลางปรับตัวลดลงต่อเนื่อง กระทบต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภค ทำให้ความต้องการเครื่องประดับทองของชาวยูเออีลดลง รวมทั้งเพชรเจียระไน สินค้าสำคัญรองลงมาก็ปรับตัวลดลงร้อยละ 47.94 อีกทั้งไทยยังส่งออกไปยังกาตาร์ ตลาดในอันดับ 2 ได้ลดลงร้อยละ 4.84 โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังตลาดนี้เป็นเครื่องประดับทอง ที่ลดน้อยลงร้อยละ 3.38 ส่วนการส่งออกไปยังอิสราเอล ตลาดในอันดับ 3 หดตัวลงร้อยละ 60.64 เนื่องจากสินค้าหลักส่งออกทั้งเพชรเจียระไนและเพชรก้อนล้วนมีมูลค่าลดลง อย่างไรก็ดี ตลาดอื่นที่ยังแนวโน้มเติบโตดี คือ ตุรกี และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งสินค้าส่งออกหลักไปยังทั้งสองตลาดเป็นเครื่องประดับทองเติบโตได้เป็นอย่างดี  

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังตลาด/ภูมิภาคต่างๆ ในระหว่างปี 2560 – 2563

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนลดน้อยถอยลงกว่า

ร้อยละ 64.39 จากการส่งออกไปยังสิงคโปร์ ซึ่งครองส่วนแบ่งสูงสุดราวร้อยละ 68 และเวียดนาม ตลาดในอันดับ 3 ได้ลดลงร้อยละ 70.81 และร้อยละ 8.81 ตามลำดับ โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังสิงคโปร์เป็นเศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่าและเศษโลหะมีค่า มีมูลค่าลดลงค่อนข้างมาก ส่วนสินค้าหลักส่งออกไปยังเวียดนามเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป อย่างอัญมณีสังเคราะห์และโลหะเงิน ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 55 ปรับตัวลดลง ส่วนการส่งออกไปยังมาเลเซีย ตลาดที่สำคัญอันดับ 2 ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.17 จากการส่งออกสินค้าหลัก คือ เครื่องประดับทองและโลหะเงิน ที่ยังขยายตัวได้ดี

การส่งออกไปยังญี่ปุ่นหดตัวลงร้อยละ 14.86 เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวต่อเนื่อง ผู้บริโภคใช้จ่ายลดลงโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยสะท้อนให้เห็นจากยอดค้าปลีกเครื่องประดับในปี 2563 ลดลงถึงร้อยละ 25.69 เมื่อเทียบกับปี 2562 (ข้อมูลจาก www.statista.com) ทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำเร็จรูปหลายรายการได้ลดลง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับเงิน และเพชรเจียระไน ซึ่งมีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.88, ร้อยละ 26.95 ร้อยละ 18.30 และร้อยละ 20.43 ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 35.22 เนื่องจาก จีนประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนักในช่วงต้นปี 2563 กระทั่งเริ่มฟื้นตัวกลับมาจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้ GDP พลิกกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 ซึ่งนับเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงประเทศเดียวที่เศรษฐกิจสามารถขยายตัวท่ามกลางภาวะวิกฤต อย่างไรก็ดี ทางการจีนดำเนินนโยบายให้ประชาชนเน้นการบริโภคภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงทำให้จีนลดการนำเข้าสินค้าลง ส่งผลให้ไทยส่งออกเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียมไปยังจีนได้ลดลง

ส่วนการส่งออกไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 15.56 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากออสเตรเลียสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดี กระทั่งสามารถคลายล็อคดาวน์ในไตรมาสที่ 3 ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการมากขึ้นกว่าปกติ มีผลทำให้ไทยส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.79 และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปอย่างโลหะเงิน ซึ่งมีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนซื้อเพื่อเก็งกำไรกันมากขึ้น ทำให้ไทยส่งออกโลหะเงินได้มากกว่า 1,009.63 เท่า

สำหรับการส่งออกไปยังรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เติบโตร้อยละ 0.43 จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างรัสเซีย ซึ่งครองส่วนแบ่งสูงสุดกว่าร้อยละ 77 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งการบรรลุข้อตกลงในการผลิตน้ำมันกับ

2. สถานการณ์การนำเข้า

การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2563 มีมูลค่า 8,075.67 ล้านเหรียญสหรัฐ (252,680.91 ล้านบาท) ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 33.51 โดยสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุดในปี 2563 คือ ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูป ด้วยสัดส่วนร้อยละ 62.47 แต่ทว่ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 27.55 อันเนื่องมาจากราคาทองคำฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นกระทั่งทำสถิติสูงสุด จึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอการนำเข้าทองคำ สินค้านำเข้ารองลงมาเป็น เพชร หดตัวลงร้อยละ 35.11 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพชร-เจียระไนซึ่งลดลงร้อยละ 29.51 รวมถึงเพชรก้อนก็มีมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 77.76 ส่วน เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้านำเข้าในลำดับที่ 3 หดตัวสูงถึงร้อยละ 41.10 โดยส่วนมากกลุ่มโอเปค ที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นรายได้หลักของรัสเซียกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น กำลังซื้อของรัสเซียจึงกลับมาดีขึ้นตามลำดับ ทำให้สินค้าส่งออกของไทยอย่างเครื่องประดับเงิน เพชรเจียระไน พลอยเนื้ออ่อนและพลอย-เนื้อแข็งเจียระไน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54, ร้อยละ 21.53, 

ร้อยละ 25.52 และร้อยละ 3.44 ตามลำดับ อีกทั้งอาร์เมเนีย ตลาดในอันดับที่ 2 ก็สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 8.70 โดยมีสินค้าส่งออกหลัก คือ พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเพชร-เจียระไน ที่เติบโตได้ดี ส่วนอีกหนึ่งตลาดที่น่าจับตา คือ คาซัคสถาน มีอัตราการเติบโตสูงราว 1.70 เท่า โดยสินค้าหลักส่งออกไปยังตลาดนี้เป็นเครื่องประดับทองที่เติบโตได้เพิ่มขึ้นมากจากที่เคยส่งออกได้เล็กน้อยในปีก่อนหน้าเป็นการนำเข้าเครื่องประดับทองด้วยมูลค่าลดลงร้อยละ 47.11 และเครื่องประดับเงิน สินค้านำเข้ารองลงมาลดลงร้อยละ 25.39 สินค้านำเข้าอันดับ 4 คือ โลหะเงิน ลดลงร้อยละ 3.99 สำหรับสินค้านำเข้าอันดับ 5 เป็น พลอยสี ซึ่งมีสินค้าหลักอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไนปรับตัวลดลงร้อยละ 53.23 และร้อยละ 30.77 ตามลำดับ

ทั้งนี้ สินค้านำเข้ากว่าร้อยละ 90 อยู่ในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ซึ่งนำเข้าลดลงค่อนข้างมากจากการชะลอและยกเลิกคำสั่งซื้อ เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง 

ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2562 และ 2563

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญที่สุดของไทย คือ ฮ่องกง มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.25 หดตัวลงร้อยละ 37.23 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าทองคำฯ ด้วยสัดส่วนกว่าร้อยละ 83 ส่วนแหล่งนำเข้าที่มีมูลค่าสูงรองลงมาเป็น สิงคโปร์ ในสัดส่วนร้อยละ 15.90 มีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 56.80 โดยสินค้านำเข้าหลักกว่าร้อยละ 98 เป็นทองคำฯ สำหรับแหล่งนำเข้าสำคัญในลำดับ 3 คือ สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.37 มีมูลค่าลดลงกว่าร้อยละ 47 เป็นการนำเข้าทองคำฯ ในสัดส่วนราวร้อยละ 97 และมีสินค้ารองมา คือ พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน

ส่วน อินเดีย เป็นแหล่งนำเข้าในอันดับที่ 4 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 11.94 ลดลงร้อยละ 4.14 โดยมีเพชรเจียระไนเป็นสินค้านำเข้าหลัก ในสัดส่วนราวร้อยละ 90 ขณะที่ ลาว เป็นตลาดในอันดับ 5 ด้วยสัดส่วนร้อยละ 4.99 มีอัตราขยายตัวได้สูงจากการนำเข้าทองคำฯ และโลหะเงิน ในสัดส่วนร้อยละ 84 และร้อยละ 15 ตามลำดับ

แผนภาพที่ 3 แหล่งนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2563

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

บทสรุป

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในรูปของเงินเหรียญสหรัฐในปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.94  (ร้อยละ 16.52 เมื่อพิจารณาในหน่วยเงินบาท) แต่หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำฯ จะพบว่าหดตัวลงร้อยละ 40.09 (ร้อยละ 40.30 เมื่อพิจารณาในหน่วยเงินบาท) และหากพิจารณาถึงมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออกทองคำฯ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสุทธิปรับตัวลดลงร้อยละ 38.92 (ร้อยละ 39.11 เมื่อพิจารณาในหน่วยเงินบาท) ดังตารางที่ 4 

ตารางที่ 4  มูลค่าการส่งออกสุทธิของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2562 และ 2563

ที่มา : กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จะเห็นได้ว่าในปี 2563 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงของไทยในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ (ไม่รวมทองคำ) ปรับตัวลดลงร้อยละ 40.09 เนื่องมาจากการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญทั้งสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน ที่ล้วนหดตัวลงจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

สำหรับในปี 2564 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยยังต้องให้น้ำหนักกับทิศทางนโยบายของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ซึ่งมีผลต่อการค้า และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดการระบาดรอบสองซึ่งรุนแรงกว่าเดิมในหลายประเทศในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การกลับมาดำเนินธุรกิจต้องล่าช้าออกไป นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกปี 2564 มีแนวโน้มฟื้นตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ จากปัจจัยเสี่ยงต่อเนื่องมาจากปี 2563 ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยอดหนี้สาธารณะแต่ละประเทศที่สูงขึ้น ปัญหาการว่างงาน การจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนของสหราชอาณาจักรหลังออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งอาจส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศจากกฎระเบียบทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป 

ส่วนทิศทางค่าเงินบาทในปี 2564 จะยังคงมีความผันผวนจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลสำคัญอย่างดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่นๆ จำเป็นต้องมีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด 

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและรอบคอบ เพื่อปรับกลยุทธ์เตรียมพร้อมรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ เพื่อผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์กระแสพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่มีความโปร่งใส เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีจริยธรรม อีกทั้งเน้นการใช้สื่อเทคโนโลยีให้เข้าถึงลูกค้าในแต่ละกลุ่มให้มากขึ้น เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ผู้คนใช้สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้น การผสมผสานเทคโนโลยีไอทีและสื่อออนไลน์เข้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย และต้องปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ทั้งยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย นอกจากนี้ ความร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างสุขอนามัย ก็สามารถนำมาใช้เพื่อเสริมความน่าสนใจและขยายตลาดได้ และที่สำคัญคือ การผสมผสานต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการให้ได้มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า จะเป็นหัวใจของความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต 




-------------------------------------------

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

*พิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 71 ว่าด้วย “ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอย และรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์” 

นำเข้าส่งออกอัญมณี,อุตสาหกรรม,อัญมณีและเครื่องประดับ,GIT,สถานการณ์,การส่งออก,Export, ปี 2563, ม.ค.-ธ.ค., สะสม 12 เดือน