Design Variation:
การออกแบบเสื้อผ้าแตกต่างกันด้วยการเลือกใช้องค์ประกอบในการออกแบบเสื้อผ้าที่ต่างกันไป ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับผู้สวมใส่และการใช้งาน มีปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ดังนี้
Fit & Ease ความหลวม/ความพอดีตัวในรูปทรงของเสื้อผ้าตามการออกแบบ
- Fit คือ ความพอดีตัว เส้นกรอบ/โครงเสื้อพอดีตามไปกับรูปร่างรูปทรงของผู้สวมใส่ (contour)
- Ease คือ การเผื่อหลวม หรือผ่อนช่องว่างในแพทเทิร์นเสื้อผ้าที่ผู้ออกแบบตั้งใจเผื่อหลวมไว้ ซึ่งทำให้เกิดรูปทรงที่เป็น 3 มิติขึ้นมา การปรับใช้ ease จะทำให้เกิดรูปทรงเส้นกรอบนอก (silhouettes) ที่แตกต่างกันออกไป มี 2 ประเภท
1. Functional / Wearing ease การเผื่อหลวมเพื่อสำหรับการเคลื่อนไหวส่วนต่างของร่างกาย (movement) และความสบายตัวในการสวมใส่ (livability) การทำแพทเทิร์นจะต้องเผื่อ wearing ease ไว้ด้วยเพื่อให้สวมใส่แล้วขยับตัวได้เหมาะสม แต่ผู้ทำแพทเทิร์นจะต้องประเมินความยืดหยุ่นของผ้าชนิดต่างๆเผื่อเข้าไป ด้วย อาทิ ผ้าถัก และผ้าที่มียางยืด (stretch fabric, lycra, etc) อาจจะไม่ต้องเผื่อ wearing ease ในแพทเทิร์นได้
ตัวอย่างการเผื่อ wearing ease ในแบบตัด
WOMEN
|
MEN
|
Hang from body การทิ้งตัวหรือการลู่ลงของเสื้อผ้า เช่น แนบเนื้อ กางห่างจากตัว ช่องว่างระหว่างตัวเสื้อกับผู้สวมใส่
รูปแบบการดีไซน์ให้เสื้อผ้ากาง พอง ฟีบหรือลู่ติดตัว สามารถออกแบบโดยการใช้เทคนิคการสร้างแบบตัดแบบสามมิติช่วยได้หรือใช้โครงเสริมเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการแล้ว ผู้ออกแบบยังต้องคำนึงถึงเนื้อผ้าและโครงสร้างผ้าที่จะใช้เพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการด้วย ความหนา (thickness) น้ำหนัก (weight) และ ผิวสัมผัส (texture/construction) ของผ้ามีผลต่อรูปทรงของเสื้อผ้า
ตัวอย่าง เช่น
- ผ้าที่มีสัมผัสที่กรอบ (crisp) เช่น ทัฟเฟต้า (taffeta) ซึ่งเป็นผ้าเนื้อกรอบผิวเรียบเนื้อละเอียดทอด้วยลายขัด แทรกด้วยด้ายพุ่งขนาดเล็กให้เป็นลอน จะทำให้เกิดโครงที่กางพอง ทิ้งห่างจากตัว จึงจำเป็นที่จะต้องเผื่อเพิ่ม ease ในแบบตัดเพื่อให้เพียงพอที่จะทิ้งตัวหรือเดรปไปกับตัวได้
- ผ้าที่บอบบาง จำพวกผ้าโปร่ง ผ้าเน็ต อาจจะขาดได้ง่ายในบริเวณที่ตึงแน่น หากไม่มีการเผื่อผ้า แต่ผ้าพวกนี้ทิ้งตัวได้ดีเป็นอิสระและเดรปได้ง่าย
- ผ้าที่ยืดหยุ่นและดิ้นได้ (clingy) เช่น ผ้ายืดเจอร์ซี่ จะลู่/ไหลไปกับตัวถึงแม้ว่าจะมีการเผื่อผ้าแล้วก็ตามและยิ่งเผื่อมากก็จะมีพื้นที่และน้ำหนักให้ผ้าทิ้งตัวมากตามไปด้วย
- ผ้าที่หนาเทอะทะ (bulky) จะไม่สามารถพับงอได้ตามต้องการและไม่ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นตัวที่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของร่างกาย จึงต้องเลือกใช้ในแบบหรือบริเวณตกแต่งที่เหมาะสม
Closure คือ พวกอุปกรณ์เกาะเกี่ยวสำหรับติดหรือยึดรองเท้าหรือเสื้อผ้า เช่น กระดุม ซิป ตะขอ เวลโครเทป เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อโครงสร้างของเสื้อผ้า
การสร้างแบบเสื้อต้องคำนึงถึงวิธีการสวมใส่โดยความยืดหยุ่นของผ้าจะเป็นตัวกำหนดวิธีการสวมใส่ด้วย ผ้าที่ไม่ยืดหยุ่นเลยและแบบเสื้อเป็นแบบพอดีตัวจึงจำเป็นต้องมีช่องเปิด ( placket / opening) เพื่อการสวมใส่ เครื่องเกาะเกี่ยวจึงถูกนำมาใช้ในการออกแบบวิธีการสวมใส่ มี 2 ประเภทแยกตามวิธีการติด
Sewn เย็บติด ได้แก่ กระดุมแป๊ะ (snaps) ตะขอ (hooks and loops or eyes) กระดุมและรังดุม (buttons and buttonholes) ซิป (zippers) ตีนตุ๊กแก (hook and loop tape) ห่วงกระดุมจากเชือกถักหรือเปีย (frogs) กระดุมทำจากแท่งไม้ (toggles) หัวเข็มขัดและแถบยึด (buckles and straps) เชือก (ties)
Pressure การอัด/กด/ตอกเพื่อยึด ได้แก่ ตาไก่ (eyelets) ห่วงหรือแหวน (grommets) หนามเตยและกระดุมแป๊ะ (pronged gripper and snaps)
Pullover or cardigan วิธีการสวมใส่ โดยการ สวมหัว หรือ เปิดหน้า/หลัง
- Cardigan เครื่องแต่งกายไม่มีปก คอกลมหรือคอวี ติดกระดุมด้านหน้า
เครดิตภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/Cardigan_(sweater)
Pullover หรือ Jumper เสื้อสวมหัว ไม่มีเปิดหน้าหรือหลัง
Length ความยาวของตัวเสื้อ/กระโปรง/กางเกง ความยาวของชิ้นหน้า/ชิ้นหลัง
Sleeves แขนเสื้อ - รูปแบบทรงแขน ความยาว
|
เครดิตภาพ : http://hitoutfit.com/style-guide/ |
Armscye วงแขน/การเข้าแขน ตำแหน่งตัดต่อและวิธีการเข้าวงแขน ความลึกและความกว้างของการกว้านวงแขนในแต่ละรูปแบบเสื้อผ้า
Neckline - วงคอ (ความกว้าง ความลึก) รวมถึงวิธีการเข้าปก/ต่อชิ้นปก
|
เครดิตภาพ : http://hitoutfit.com/style-guide/ |
|
เครดิตภาพ : http://hitoutfit.com/style-guide/ |
Waist ตำแหน่งเอว - ใต้อก/เหนือเอว/ระดับเอว/เอวต่ำ/ระดับสะโพก
บทความอ้างอิง
http://www.cwu.edu/~robinsos/ppages/resources/costxt/costxt_16.htm
http://quickneed.com/tutorials/all-about-fitting-wearing-and-design-ease/
http://www.joyofclothes.com/style-advice/clothing-guides/jeans/waist-types.php