หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / อุปสงค์ตลาดเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีในจีนพุ่ง โอกาสรุ่งของผู้ประกอบการพลอยสีไทย

อุปสงค์ตลาดเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีในจีนพุ่ง โอกาสรุ่งของผู้ประกอบการพลอยสีไทย

กลับหน้าหลัก
04.04.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 1808

ตลอดช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา เครื่องประดับเพชรเข้ายึดครองตลาดจีน สร้างการรับรู้ในคุณค่าและสร้างกระแสนิยมอย่างล้นหลามในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน ร้านค้าทุกหัวระแหงต่างเสนอขายแต่เครื่องประดับตกแต่งเพชร  เพชรร่วงในคุณภาพที่หลากหลายพร้อมใบรับประกันคุณภาพจากหน่วยงานระดับโลกถูกวางโชว์ล่อใจลูกค้าชาวจีนที่ ร่ำรวยและมีก่าลังซื้อเพิ่มขึ้อย่างต่อเนื่อง วันนี้เหตุการณ์เดียวกันกำลังเกิดขึ้นกับสินค้าในกลุ่มพลอยสี และเครื่องประดับตกแต่งพลอยสี ชาวจีนกำลังหันมาคลั่งไคล้หลงใหลในความงดงามแห่งสีสันที่หลากหลายของอัญมณี ประเภทต่างๆ ผู้คนยินดีจ่ายเงินนับแสนนับล้านหยวนเพื่อให้ได้อัญมณีน้ำงามคุณภาพสูงมาไว้ในครอบครอง อาจกล่าว ได้ว่าขณะนี้ตลาดพลอยสีในจีนกำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งโรจน์ และเชื่อว่ากระแสพลอยสีฟีเวอร์นี้น่าจะปรากฎอยู่ ในประเทศจีนได้อีกยาวนาน ในอดีตนั้น นอกจากหยกที่ชาวจีนส่วนใหญ่ชื่นชอบแล้ว หากเป็นสินค้าในกลุ่มพลอยสีก็มีเพียงแค่พลอยใน กลุ่ม “บิ๊กทรี” ซึ่งประกอบด้วย ทับทิม ไพลิน และมรกต วางขายอยู่ในท้องตลาด แต่ก็พบได้เพียงประปราย รูปแบบ เครื่องประดับพลอยสีก็มักเป็นแบบคลาสสิค นิยมตกแต่งด้วย พลอยขนาดเล็ก เจียระไนมาในรูปทรงไข่หรือหลังเบี้ย ล้อมรอบด้วยเพชรบนตัวเรือนทอง 18 กะรัต รูปแบบดีไซน์ก็ ไม่ดึงดูดใจผู้ซื้อเท่าที่ควร จนทำให้แทบจะไม่ปรากฎยอดขาย เครื่องประดับพลอยสีในตลาดจีนเลย หากแต่ปัจจุบันตลาดพลอยสีของจีนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ตลาด เครื่องประดับเพชรเริมเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ผู้บริโภคต้องการซื้อหาสินค้าที่มีความแตกต่าง ขณะเดียวกันคนจีนรุ่นใหม่ต่าง เกาะติดกระแสแฟชั่นโลกที่ในระยะหลายปีมานี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง รองเท้า และ เครื่องประดับ ต่างผลิตสินค้าที่มีสีสันหลากหลายทั้งในโทนสีร้อนฉูดฉาด โทนสีอบอุ่นนุ่มนวล โทนสีพาสเทลอ่อนหวาน กอปรกับกระแสที่บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าดาราคนดังฮอลลีวู้ดหันมาใช้แหวนหมั้นที่มีพลอยสีเป็นอัญมณีเม็ดหลัก เหล่านี้เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคเครื่องประดับตกแต่งพลอยสีอย่างสูงในตลาดจีน

ยอดขายสินค้า นี้ในตลาดเติบโตแบบก้าวกระโดดจากเมื่อปี 2550 มียอดค้าปลีกราว 4,000 ล้านหยวน เพิ่มเป็นกว่า 20,000  ล้านหยวน ในปี 2556 ขณะที่ข้อมูลจาก Global Trade Atlas รายงานไว้ว่า มูลค่าการน่าเข้าพลอยสีไปยังตลาดจีน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาขยายตัวถึง 37 เท่า จากมูลค่า 585 ล้านหยวนเมื่อปี 2547 เป็น 22,500 ล้านหยวนในปี 2556 และระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2557 จีนน่าเข้าพลอยสีจากตลาดโลกมูลค่าราว 151,370 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้าประมาณ 8 เท่า โดยการน่าเข้าพลอยสีของจีนนี้ ส่วนหนึ่งเพื่อน่าไปใช้ผลิตเป็น เครื่องประดับตกแต่งอัญมณี ขณะที่อีกส่วนหนึ่งถูกน่าไปใช้ประโยชน์เพื่อการสะสมและการลงทุนเนื่องด้วยราคา พลอยสีในตลาดจีนปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดจีนในวันนี้เต็มไปด้วยพลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งตระกูลคอรันดัมอย่างทับทิม แซปไฟร์ และพลอยเนื้ออ่อนหลากหลายชนิด ขนาด และระดับคุณภาพ มีตั้งแต่พลอย เนื้ออ่อนคุณภาพตา ขายเหมา 3-5 เม็ด ในราคาไม่ถึงร้อยหยวน ไปจนถึงอัญมณีเม็ดงามราคา หลายล้านหยวน ทั้งนี้ พลอยสีแดงจะได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพลอยสีทั้งปวงเนื่องด้วย วัฒนธรรมของชาวจีนที่ชื่นชอบสีแดงอันถือเป็นสีมงคล ตัวอย่างอัญมณีกลุ่มนี้ที่พบเห็นได้ใน ตลาดจีนได้แก่ ทับทิม รูเบลไลท์ เรด การ์เน็ต เรด สปิเนล หรือหากชื่นชอบพลอยในโทนสี ชมพูก็มี พิงค์ ทัวร์มาลีน พิงค์ แซปไฟร์ ให้เลือกซื้อหามากมาย นอกจากนี้ ยังมีพลอยสีน้่าเงิน Anna Hu Collection อย่างไพลิน แทนซาไนท์ พลอยเนื้ออ่อนอย่างซิทริน เพริดอท แอเมทิสต์ อะความารีน รวมถึง พลอยหายาก สีแปลกตา และ/หรือพลอยที่มีปรากฎการณ์อย่างเช่น ทับทิมพม่าสีเลือด นกพิราบไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ ไพลินศรีลังกาไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ แพดพารัดชา พาราอีบา ทัวร์มาลีน ทัวร์มาลีนสองสี (Bi-Color Tourmaline) รวมถึงพลอยในตระกูลคริโซเบริลอย่างแคทส์อาย (Cat’s Eye) และ อเล็กซานไดรต์ ก็เป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดและมีราคาแพงมาก โดยพลอยสีที่กล่าวถึงในกลุ่มหลังนี้ได้รับความ นิยมอย่างมากในหมู่นักสะสมและนักลงทุนชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองเศรษฐกิจหลักอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้

ตลาดพลอยสีและเครื่องประดับตกแต่งพลอยสีในจีนแม้ว่าขณะนี้จะเติบโตด้วยอัตราการขยายตัวแบบก้าวกระโดด แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เท่านั้น หากพิจารณาจากตลาดค้าปลีกเครื่องประดับของจีนที่มียอดขายสินค้านี้ เพียง 20,000 ล้านหยวนจากยอดขายเครื่องประดับโดยรวมที่มีมูลค่าถึง 464,500 ล้านหยวน จะเห็นได้ว่าเครื่องประดับตกแต่งพลอยสียังมีอนาคตอีกยาว ไกลในตลาดแห่งนี้ (แม้ว่าขณะนี้การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับจะชะลอตัว ลงบ้างจากนโยบายการปราบปรามคอรัปชั่นของรัฐบาลกลาง) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นส่วนตลาดใหม่ที่ก่าลังพัฒนา ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยจึงยังขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลอยสีไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประเภทและ คุณสมบัติของอัญมณี วิธีการเลือกซื้อรวมถึงคุณค่าที่แตกต่างระหว่างพลอย ธรรมชาติ พลอยเผา และพลอยผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้น การ เสริมสร้างความรู้พลอยสีแก่ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นความต้องการซื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันพบว่ามีความพยายามจากภาคอุตสาหกรรมที่จะดำเนินการ ในเรื่องนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง มีการตีพิมพ์บทความจำนวนมากในนิตยสารอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อแนะน่าพลอยสี ประเภทต่างๆ รวมถึงสอนเทคนิคทางการตลาด เช่น แนวทางการจัดวางเครื่องประดับพลอยสีในตู้โชว์อย่างไรให้ดึงดูด สายตาลูกค้า อัญมณีประจ่าวันเกิด อัญมณีประจ่าราศี เป็นต้น  

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญในตลาดพลอยสีของจีนก็คือ ระดับราคาสินค้าที่ไร้มาตรฐาน หากแต่ผันผวนขึ้นลงตามระดับอุปสงค์ในตลาดภายในประเทศและความพึงพอใจของผู้ซื้อเป็นสำคัญ การทำตลาดสินค้านี้จึงไม่ง่ายนัก นอกจากนี้ เครื่องประดับที่วางจำหน่ายในตลาดจีนก็ยังมีราคาแพงมาก เนื่องจากในการซื้อขายต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 17 และภาษีบริโภคอีกร้อยละ 5 ตัวอย่างเช่น แหวนทอง 18 กะรัต ประดับรูเบลไลท์ล้อมด้วยเพชร สนนราคาอยู่ที่ 45,100 หยวน แหวนทองขาว 18 กะรัต ประดับทับทิมเม็ดโต ล้อมด้วยเพชรสองชั้น ราคาอยู่ที่ 755,000 หยวน เป็นต้น หากเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก เพราะต้องชำระอากรขาเข้า ในอัตราร้อยละ 20-35 อีกด้วย

ด้วยปัญหาเรื่องของราคาสินค้าดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวจีนส่วนหนึ่งที่เดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศมักนิยมซื้อเครื่องประดับติดตัวกลับบ้าน เนื่องจากสินค้าในต่างประเทศจะมีราคาตากว่าในจีนราวร้อยละ 45-70 ประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมซื้อเครื่องประดับได้แก่ ฮ่องกง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตามลำดับ ถือ เป็นการสร้างโอกาสขยายมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่าคัญแก่ผู้ประกอบการในประเทศแหล่งท่องเที่ยว เหล่านี้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ก็คือ ฮ่องกง ที่ Hong Kong Tourism Board ได้ระบุว่า ในปี 2555 มีรายได้ จากการจำหน่ายเครื่องประดับแก่นักท่องเที่ยวมูลค่า 17,600 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของยอด ใช้จ่ายเพื่อการชอปปิ้ง โดยในจำนวนนี้รายได้กว่าร้อยละ 20 มาจากนักท่องเที่ยวชาวจีน ทั้งนี้ เมื่อปี 2556 ชาวจีน ออกเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศจำนวน 98.18 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 18 มียอดใช้จ่ายราว 770,000  ล้านหยวน จุดหมายปลายทางที่ส่าคัญใน 10 อันดับแรกได้แก่ ฮ่องกง ประเทศไทย เกาหลีใต้ มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และฝรั่งเศส

จากสถานการณ์ปัจจุบันในตลาดการค้าพลอยสีของจีนดังที่กล่าวมาทั้งหมด ผนวกเข้ากับสถานะของไทยในการเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ค้าพลอยสีรายใหญ่ของโลก จึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการอัญมณีและ เครื่องประดับของไทย ทั้งในฝั่งผู้ส่งออกพลอยสีที่สามารถส่งสินค้านี้เข้าไปยังประเทศจีน หรืออาจเร่งทำตลาด ช่วย จัดหาวัตถุดิบพลอยเจียระไน และ/หรือเครื่องประดับตกแต่งพลอยสีให้แก่คู่ค้าในประเทศแหล่งจับจ่ายของชาวจีน ดังกล่าวข้างต้น ขณะที่ผู้ประกอบการค้าเครื่องประดับในประเทศก็ควรหาช่องทางเข้าถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทาง มายังประเทศไทยราวปีละ 5 ล้านคน พร้อมนำเสนอสินค้าที่มีรูปแบบดีไซน์ตรงกับรสนิยมของผู้ซื้อ ที่สำคัญจะต้อง เป็นสินค้าคุณภาพดี ไม่มีย้อมแมวขาย โดยอาจมีใบรับรองคุณภาพอัญมณีและเครื่องประดับแนบไปกับสินค้าด้วยก็จะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายได้เพิ่มขึ้น

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มกราคม 2558

สิ่งทอ,สิ่งทอ