หน้าแรก / THTI Insight / ข่าวรายวัน / 4 ผู้ชนะในศึกการค้าจีน-สหรัฐ

4 ผู้ชนะในศึกการค้าจีน-สหรัฐ

กลับหน้าหลัก
05.07.2562 | จำนวนผู้เข้าชม 450

4 ผู้ชนะในศึกการค้าจีน-สหรัฐ

ชาวอเมริกันซื้อของจากจีนน้อยลงก็จริง แต่ก็ไม่ได้หันไปอุดหนุนผู้ผลิตสหรัฐ กลับเลี่ยงกำแพงภาษีของโดนัลด์ ทรัมป์ ไปหาซับพลายเออร์อื่นในเอเชียแทน


ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า มี 4 ประเทศที่เป็นผู้ชนะในสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ได้แก่ เวียดนาม ไต้หวัน เกาหลีใต้และบังกลาเทศ


สำนักสำมะโนสหรัฐ เผยสถิติเมื่อวาน (3 ก.ค.)ว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐนำเข้าสินค้าจากจีนลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่การนำเข้าจากเวียดนาม เพิ่มขึ้น 36% เช่นเดียวกับไต้หวัน นำเข้าเพิ่ม 23% จากบังกลาเทศ เพิ่มขึ้น 14% และเกาหลีใต้ 14%


การขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์ ทำให้การนำเข้าสินค้าบริโภคอย่างหมวกเบสบอล กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ และจักรยาน ที่ผลิตในจีน มีราคาแพงขึ้น ภาษียังกระทบสินค้าอุตสาหกรรมและเครื่องจักรหลายรายการ รวมถึงชิ้นส่วนเครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า เครื่ออบผ้าและเครื่องกรองน้ำ


ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังพบประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ระหว่างร่วมประชุมจี-20 ที่ญี่ปุ่นว่าการเจรจากลับมาอยู่ในทิศทางที่ควรจะเป็น และภาษีอัตราใหม่จะระงับไว้ก่อน แต่เจ้าของธุรกิจอเมริกันตื่นตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เมื่อรัฐบาลทรัมป์ ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ จาก 10% เป็น 25% โดยอ้างว่าจีนผิดข้อตกลงก่อนหน้า นอกจากนี้ ทรัมป์ยังขู่ประกาศใช้ภาษีใหม่กับสินค้านำเข้าจากจีนที่ยังเหลือ ซึ่งก็อาจกระทบสมาร์ทโฟน ของเล่น รองเท้าและปลา เป็นลำดับต่อไป


ประธานาธิบดีทรัมป์ ยังกล่าวด้วยว่า การเจรจากับปักกิ่งจะต้องได้ผลดี เพราะมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ บีบบริษัทย้ายออกจากจีน ไปยังประเทศอื่น รวมถึงบริษัทของจีนเอง


แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าบริษัทย้ายการผลิตออกจากจีนแบบถาวร หรือแค่ยักย้ายเส้นทางสินค้าผ่านกระบวนการเล็กน้อยก่อนส่งไปยังสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้สำนักศุลกากรเวียดนาม ประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า จะเริ่มกวาดล้างสินค้าผลิตในจีนแต่ติดฉลากผิดกฎหมายว่า ผลิตในเวียดนาม เพราะบริษัทเหล่านั้นพยายามหลีกเลี่ยงภาษีสหรัฐ


การหาผู้ผลิตนอกประเทศจีน ที่สามารถผลิตสินค้าแบบเดียวกัน คุณภาพเดียวกันและราคาถูก ไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือหลายปี ผู้นำเข้าอาจตัดสินใจยอมจ่ายเพิ่มเดิมพันว่าทรัมป์จะยกเลิกกำแพงภาษีในไม่ช้า หรืออาจเลือกโยนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปให้ผู้บริโภคในช่วงเวลาหนึ่ง


ผลสำรวจโดยหอการค้าอเมริกัน และหอการค้าจีนในเซี่ยงไฮ้ เมื่อเดือนพฤษภาคม พบว่า บริษัท 40% กำลังพิจารณาย้าย หรือย้ายการผลิตออกจากจีนแล้ว เนื่องจากมาตรการภาษี โดยบริษัทที่ย้ายออกแล้ว ราว 1ใน 4 ย้ายไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีไม่ถึง 6% ที่ย้ายกลับหรือกำลังคิดจะย้ายไปสหรัฐอเมริกา


เหตุที่การนำเข้าจากประเทศอื่นๆนอกจีน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้ เนื่องจากการผลิตบางส่วนย้ายออกจากจีนไปยังประเทศที่ได้เปรียบด้านค่าแรง ตั้งแต่ก่อนทรัมป์เก็บภาษีเพิ่มแล้ว


ซีเอ็นเอ็นระบุว่า การนำเข้าของสหรัฐจากเวียดนามและเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดกว่าทศวรรษ ขณะสองประเทศเพิ่มผลิตเสื้อผ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตามลำดับ


ไต้หวันและเกาหลีใต้มุ่งส่งออกสินค้าไฮเทค เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ส่วนเวียดนามกับบังกลาเทศได้เปรียบเรื่องค่าแรง ทำให้สองประเทศนี้เป็นแหล่งดึงดูดสินค้าพวกเสื้อผ้าและรองเท้า


ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/839768

ส่งออกรุกออนไลน์ครึ่งปีแรกปั๊มรายได้ 1.46 หมื่นล้าน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและผลักดันการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรก 2564 ทางช่องทางออนไลน์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ทำรายได้เข้าประเทศจากกิจกรรมที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์กว่า 14,679.19 ล้านบาท ซึ่งนายจุรินทร์ได้ขอได้เร่งรัดให้ดำเนินการต่อในช่วงครึ่งปีหลังอย่างเข้มข้น ตามนโยบายที่ให้ไว้เพื่อทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น


สำหรับรายละเอียดผลการดำเนินการ ได้มีการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบ Mirror-Mirror ที่ผู้ประกอบการไม่ต้องเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าแค่ส่งตัวอย่างสินค้าไปจัดแสดง หรือมอบหมายตัวแทนจำหน่ายเข้าร่วมงานแทน และจัดระบบเจรจาการค้าผ่านออนไลน์ จัดไปแล้ว 3 งาน ได้แก่ งาน Tokyo International Gift Show (สินค้าไลฟ์สไตล์ ของขวัญของชำร่วย ของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง) งาน Gulfood ณ นครดูไบ UAE (สินค้าฮาลาล) และงาน Foodex Japan ณ เมืองชิบะ (สินค้าอาหาร) และยังได้ใช้รูปแบบเดียวกันนี้จัดงานแสดงสินค้าไทย Top Thai Brands 2 ครั้ง ที่กรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ มีผู้ประกอบการเข้าไทยเข้าร่วมรวม 213 ราย มีมูลค่าสั่งซื้อทันที 41.74 ล้านบาท มูลค่าคาดการณ์สั่งซื้อภายใน 1 ปี 602.52 ล้านบาท


ส่วนการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบเสมือนจริง จัดไปแล้ว 3 งาน ได้แก่ THAIFEX Virtual Trade Show โดยจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม www.thaifex-vts.com วันที่ 25-29 พ.ค.2564 มียอดสั่งซื้อทันที มูลค่ารวม 2,845,100 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 85 ล้านบาท และคาดการณ์สั่งซื้อภายใน 1 ปี 22,515,133 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 675 ล้านบาท และมีกำหนดจัดงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม THAIFEX ANUGA Asia ในรูปแบบไฮบริดอีกในวันที่ 29 ก.ย.-3 ต.ค.2564 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี คาดว่าจะทำรายได้เช่นเดียวกัน , งาน BGJF Virtual Trade Fair วันที่ 22-24 มิ.ย.2564 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นงานที่จัดต่อเนื่องมาถึง 65 ครั้ง โดยในปีนี้ เป็นปีที่ 2 ที่จัดงานในรูปแบบเสมือนจริง บนแพลตฟอร์ม www.bgjf-vtf.com มีมูลค่าการสั่งซื้อ 576 ล้านบาท และงานแสดงสินค้า Multimedia Online Virtual Exhibition หรือ MOVE 2021 ซึ่งเป็นกิจกรรมการส่งออกด้านมัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ แอนิเมชัน หรือว่าดิจิทัลคอนเทนต์ มีการลงนามซื้อขาย 1,586 ล้านบาท


ทางด้านกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ในช่วง 6 เดือนของปี 2564 จัดไปแล้วรวม 44 ครั้ง ในสินค้าต่าง ๆ เช่น อาหาร ผลไม้ สินค้าฮาลาล สินค้าเครื่องมือแพทย์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น สร้างยอดขายรวม 8,335.43 ล้านบาท และล่าสุดได้จัดเจรจาธุรกิจคอนเทนต์วายไทย วันที่ 29-30 มิ.ย.2564 มียอดซื้อขายกว่า 360 ล้านบาท


"นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยในซุปเปอร์มาเก็ตและห้างสรรพสินค้า ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencers/ KOL) ในตลาดเป้าหมาย เพื่อสร้างความต้องการในตัวสินค้าไทยในประเทศนั้นๆ มีมูลค่าการสั่งซื้อทันที 715 ล้านบาท และมูลค่าการสั่งซื้อคาดการณ์ภายใน 1 ปี กว่า 1,411 ล้านบาท


ขณะเดียวกัน มีกิจกรรมพิเศษที่เพิ่มเข้ามา เช่น งาน “DITP ยี่ปั๊วออนไลน์ คอนเนค” หรือ DITP’s Online Reseller Connect ระหว่างวันที่ 24 -28 พ.ค.2564 ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังไม่พร้อมในการขายสินค้าทางออนไลน์ให้มีโอกาสในการก้าวสู่ตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ โดยให้ทูตพาณิชย์เชิญผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีศักยภาพในแต่ละประเทศที่มีความชำนาญในการขายสินค้าออนไลน์มาซื้อสินค้าไทย มีการสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า 290 ล้านบาท โดยสินค้าไทยจะถูกนำไปจำหน่ายในแพลตฟอร์มชั้นนำ เช่น Alibaba.com , Amazon , Tmall Global , Bigbasket และ DidiGlobal โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจสูง ได้แก่ ผลไม้สดและแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ของตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ สินค้าเพื่อสุขภาพ สินค้าประดับยนต์ เป็นต้น และยังได้ร่วมกับอีคอมเมิร์ซชั้นนำ เช่น TMall Global (จีน) Big Basket (อินเดีย) Amazon (สหรัฐฯ) จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยในร้าน TOP Thai ซึ่งทำให้ขายสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้น


ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948844

ข่าวรายวัน,สิ่งทอ,กำแพงภาษี,สงครามการค้า,สหรัฐ-จีน,เวียดนาม,ไต้หวัน,เกาหลีใต้,บังกลาเทศ