หน้าแรก / นวัตกรรม / ฉลาก CoolMode

ฉลาก CoolMode

ฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี ทำให้สวมใส่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว สามารถสวมใส่ในอาคารหรือห้องที่มีอุณภูมิเครื่องปรับอากาศ 25๐c ได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด

ฉลาก CoolMode

      ฉลากคูลโหมด เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 25°C ได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด คุณสมบัติพิเศษของเสื้อ CoolMode ได้แก่ คุณลักษณะด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพราะไม่ใช้สารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง คุณลักษณะด้านคุณภาพด้านความคงทนของสีและมีความแข็งแรง และคุณลักษณะลดความร้อนที่สามารถดูดซับเหงื่อ สัมผัสแล้วเย็น และถ่ายเทความร้อนได้ดี ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์คูลโหมดได้ถูกบรรจุเข้าสู่รายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ หรือ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) และเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ประสิทธิภาพเสื้อเบอร์ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

      ค่าสมัครขึ้นทะเบียน 3,500 บาท/โครงสร้าง
     ค่าตรวจติดตาม 8,500 บาท/โครงสร้าง
     การใช้เครื่องหมายมีอายุ 3 ปี


ผ้า CoolMode

      คูลโหมด เป็นฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี  ทำให้สวมใส่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว สามารถสวมใส่ในอาคารหรือห้องที่มีอุณภูมิเครื่องปรับอากาศ 25 ๐C ได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นผ้า มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อจากผิวหนังและระเหยออก จึงช่วยเพิ่มความสบายและความเย็นในขณะสวมใส่ เสื้อผ้า Cool-Mode จึงช่วยรองรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

      การทดสอบคุณสมบัติของผ้า Cool-mode ประกอบด้วย 3 หัวข้อคือ

ความปลอดภัย, คุณภาพและความคงทน, การลดความร้อน

1. ความปลอดภัย

รายการที่

คุณลักษณะ

หน่วย

เกณฑ์ที่กำหนด

วิธีทดสอบ

เสื้อผ้าเด็กอ่อน(1)

ชุดทำงานในสำนักงาน เสื้อผ้าทั่วไป,ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน

1

ปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์น้อยกว่า

mg/kg

20

75

ISO 14184 Part1

2

 

 

 

 

อนุภาคโลหะหนัก หน้อกว่า

-          ตะกั่ว

-          แคดเมี่ยม

-          โครเมี่ยม (VI)

-          ทองแดง

mg/kg

0.2

0.1

1.0

0.5

25.0

1.0

0.1

2.0

0.5

50.0

สกัดด้วยสารละลายเหงื่อตาม ISO 150-E04 Test Solution II ที่ 40oC เวลา 1 ชม.จึงมาวัดค่าด้วย Absorption Spectrometer (ICP)

สำหรับตะกั่ว แคดเมี่ยม โครเมี่ยม ทั้งหมดและทองแดง ส่วน โครเมี่ยม(VI) วัดด้วย UV-VIS

Spectrophotometer

3

สีเอโซ (azo dye) ที่ให้แอโรมาติก

เอมีน (aromatic amine)* ไม่เกิน

mg/kg

30

30

EN 14362 part 1

หมายเหตุ     (1) เสื้อผ้าเด็กอ่อน หมายถึง เด็กที่อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 24 เดือน

             * หมายถึง แอโรมาติกแอมีน 24 ตัว

     

 

 

2. คุณภาพและความคงทน

รายการที่

คุณลักษณะ

หน่วย

เกณฑ์ที่กำหนด

วิธีทดสอบ

เสื้อผ้าเด็กอ่อน(1)

ชุดทำงานในสำนักงาน เสื้อผ้าทั่วไป,

ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน

1

ความต้านแรงดึงขาด(แบบแกรบ)(เฉพาะผ้าทอไม่น้อยกว่า

นิวตั้น (N)

 

-

111

250

200

ISO 13934-2

2

 

ความต้านทานแรงดันทะลุ

(เฉพาะผ้าถัก)ไม่น้อยกว่า

กิโลปาสคาล

(kPa)

 

-

580

-

ISO 13938-1

3

การเปลี่ยนขนาดหลังการซัก 5 ครั้ง ในแต่ละแนว

ไม่เกิน

ร้อยละ

+- 5

+- 8

-5,+3

-7,+5

-5 (แนวด้านยืน)

-3 (แนวด้านพุ่ง)

-6 (แนวด้านยืน)

-6 (แนวด้านพุ่ง)

ISO 3759

ISO 5077

ISO 6330

4

ความคงทนของสีต่อการซักไม่น้อยกว่า

-การเปลี่ยนสี

- การเปื้อนสี

ระดับ

 

4

4

 

4

3-4

ISO 105-C06

5

ความคงทนของสีต่อแสง

(แสงซีนอนอาร์ก)เมื่อเทียบกับผ้าบลูวูลมาตรฐาน ไม่น้อยกว่า

ระดับ

-

4

4

ISO 105-B02

6

ความคงทนต่อสีต่อน้ำลายหรือเหงื่อไม่น้อยกว่า

-การเปลี่ยนสี

- การเปื้อนสี

เกรย์สเกลระดับ

 

4

4

 

-

-

 

-

-

DIN 53160

 

3. การลดความร้อน
ต้องผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 3 รายการ โดยต้องผ่านเกณฑ์รายการที่ 1 Q-max เป็นหลัก

รายการที่

คุณลักษณะ

หน่วย

เกณฑ์ที่กำหนด

วีธีทดสอบ

1

Touch feeling of warm or cool, Q-max

(W/cm2)

Min 0.14 W/cm2

KES-F7 ThERMO  Labo II

2

การดูดซึมน้ำ (absorbency)

วินาที

ไม่เกิน 5 วินาที (ผ้าทอ)

ไม่เกิน 2 วินาที (ผ้าถัก)

AATCC 79

3

การดูดน้ำ (Wicking)

มิลลิเมตร

มากกว่า 50 มิลลิเมตร

JIS L 1907-1994 (Byreck)

หมายเหตุ :     การดูดซึมน้ำ (absorbency) เป็นการวัดเวลาที่หยดน้ำซึมลงไปในผ้าที่วางในแนวระนาบ

                   การดูดน้ำ (Wicking) เป็นระยะทางที่น้ำซึมขึ้นมาบนผ้าตามแนวดิ่งในเวลา 10 นาที

 

      การตกแต่งสำเร็จผ้าให้เกิดฟังชั่นต่างของคลูโหมด (Cool made)

1. การตกแต่งให้ผ้าซึมน้ำได้ดี

          1.1 กระบวนการเตรียมผ้าก่อนย้อมที่มีคุณภาพ ทั้งเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ โดยวัตถุประสงค์หลักของกระบวนการเตรียมผ้าก่อนย้อมคือ การกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ สีหรือสารเคมีที่ตกค้างออกจากผืนผ้า กระบวนการเตรียมผ้าก่อนย้อมที่สมบูรณ์นั้น จะทำให้เส้นใยผ้ามีการดูดซึมน้ำได้ดีมากขึ้นโดยเฉพาะการทำกระบวนการเมอร์เซอร์ไรซ์และกระบวนการคอสติกไซซ์ (Mercerized and Causticization)

          กระบวนการ Mercerized เป็นกระบวนการที่เส้นด้ายหรือผืนผ้าฝ้ายวิ่งผ่านสารเคมีโซดาไฟที่ความเข้มข้น 28-32 oBe,  โดยมีแรงดึง ที่อุณหภูมิ 20oC ห้อง เป็นเวลา 30 วินาที (ถ้าใช้อุณหภูมิมากกว่านี้จะต้องลดปริมาณความเข้มข้นของโซดาไฟลง) ในกระบวนการนี้เส้นด้ายฝ้ายและผ้าฝ้ายจะมีความเงามันมากขึ้น การดูดซึมน้ำและสารเคมีได้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถทนต่อการยับได้ดีมาก

          กระบวนการ Causticization เป็นกระบวนการที่ผืนผ้าฝ้ายวิ่งผ่านสารเคมี โซดาไฟที่ความเข้มข้น 18-22oBe,  โดนปราศจากแรงดึง (ผ้าจะหดตัวประมาณ 20-25%) ที่อุณหภูมิ 20oC ห้องเป็นเวลา 30 วินาที (ถ้าใช้อุณหภูมิมากกว่านี้จะต้องลดปริมาณความเข้มข้นของโซดาไฟลง) จะได้ผ้าฝ้ายที่มีความเงามันน้อยลง หดตัวมากขึ้นและมีความคงทนต่อการฉีกขาดเพิ่มขึ้นความสามารถในการดูดซึมน้ำ, สีและสารเคมีต่างๆ ดีขึ้น

          ส่วนกระบวนการ Mercerized บนผ้าเรยอนจะใช้โซดาไฟที่ความเข้มข้นเพียง 2-8 oBe, โดยจะทำให้   เส้นใยอ่อนนุ่มขึ้นแต่คุณสมบัติในการดูดซึมน้ำไม่ได้ดีขึ้นมากนัก

          1.2   การตกแต่งให้ผ้าซึมน้ำด้วยสารประเภทซิลิโคนสามารถลงได้ทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ และสามารถลงได้ทั้งกระบวนการบีบอัด(Padding) และกระบวนการจุ่มแช่ (Exhaustion)

          1.3   การตกแต่งให้ผ้าซึมน้ำด้วยสารโพลีอูรีเทน (Polyurethane) โดยสารจะทำหน้าที่เป็นฟีล์มบางๆ เคลือบที่ผิวเส้นใยไว้ โดยการทำงานของสารเหล่านี้จะทำหน้าในการส่งต่อความชื้นที่เกิดจากน้ำหรือสารละลายต่างๆที่เกิดจากร่างการจากของคนเราสู่พื้นผิวผ้าด้านนอก ทำให้ผ้าแห้งได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นสารที่ให้การตกแต่งที่นุ่มที่มีเนื้อมากขึ้นอีกด้วย จากตกแต่งด้วยสารโพลีอูรีเทน (Polyurethane) สามารถตกแต่งกับผ้าได้ทุกประเภท แต่จะมีข้อควรระวังในการตกแต่งกับผ้าโพลิเอสเตอร์ ซึ้งถ้าใช้สารโพลีอูรีเทน (Polyurethane) ที่ปริมาณมากเกินไปจะทำให้ความคงทนของสีต่อการซักลดน้อยลง 1 ถึง 2 เกรด

          1.4   การตกแต่งให้ผ้าซึมน้ำด้วยสารโพลีเอสเตอร์เรซิน (Polyester Resin) ซึ่งเหมาะกับการตกแต่งบนเส้นโพลิเอสเตอร์โดยสารจะเข้าไปเชื่อมติดกับเส้นใยโพลิเอสเตอร์และอีกส่วนจะแสดงหมู่ชอบน้ำออกมาสู่ผิวของเส้นใน

ตัวอย่างสาร Polyester Resin


 

ผ้าโพลีเอสเตอร์หลังการตกแต่งสำเร็จด้วยสาร

 

 


          1.5 การตกแต่งสำเร็จด้วยสารนาโนบางกลุ่มเช่น Nano-ZnO , Nano-Ag , Nano-TiO2
          การตกแต่งด้วยสารนาโน ของโลหะเหล่านี้จะเข้าไปทำน้าที่เพิ่มหมู่สารชอบน้ำให้กับเส้นใย จึงทำให้เส้นใยมีการซึมน้ำและการกระจายตัวของน้ำได้กว้างและเร็วขึ้น จึงเป็นการแตกแต่งให้ให้เกิดฟังก์ชั่นชอบน้ำและระเหยน้ำได้ดีมากขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ในการตกแต่งผ้าให้เกิดฟังก์ชั่นชอบน้ำและละเหยน้ำได้ดีขึ้นแล้ว การตกแต่งด้วยสารเหล่านี้ ยังเพิ่มชังก์ชั่นในส่วนของการลดการเกิดไฟฟ้าสถิต ทำให้ผ้าซักง่ายขึ้น และหลายกลุ่มสารเคมียังทำให้ผ้านุ่มขึ้นอีกด้วย 2 การตกแต่งด้วยสารเคมีให้ผ่านมาตรฐาน Q-max
                    1) การตกแต่งด้วยสารประเภทไมโครแคปซูลที่รักษาอุณหภูมิ เช่นสารไมโครแคปซูลประเภทที่เปลี่ยน  สารด้านในให้เป็นของเหลวหรือของแข็งได้ ในอุณหูมิที่กำหนด เช่น 21 31 41 องศาเซลเซียส เป็นต้น
                    2) การตกแต่งด้วยสารนาโนประเภทต่าง เช่น ซารามิกไททาเนี่ยมไดออกไซด์ สังกะสีออกไซด์ เงิน หินอ่อน หินหยก เป็นต้น โดยสารจะทำหน้าที่ในการดูดเก็บความเย็นในสภาวะแวดล้อมไว้จึงทำให้รู้สึกเย็น และสารนาโนบางกลุ่มสามารถป้องกันความร้อนได้ดีเช่น นาโน ซารามิก, ไททาเนี่ยมไดออกไซด์, สังกะสีออกไซด์ เป็นต้น
                    3) การใช้เส้นใยที่มีส่วนประสมกับโลหะในการผลิตเป็นวัสดุสิ่งทอ โดยเส้นกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ดูดเก็บความเย็นจากสิ่งแวดล้อมและค่อยๆปลดปล่อยออกสู่ตัวเรา จึงทำให้เรารู้สึกเย็นเมื่อสัมผัสกับผืนผ้า