ค้นหา
กรุณา พิมพ์สิ่งที่ท่านต้องการค้นหาที่นี่ค่ะ
ค้นหา
ปิด
TH
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ
นวัตกรรม
All
ECO Textile
Protective Textile
Medical Textile
Sportswear
THTI Activities
THTI Insight
วารสาร
องค์ความรู้
เทคโนโลยีสิ่งทอ
ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม
ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก
ข่าวรายวัน
เกี่ยวกับ THTI
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ความเป็นมา
แผนผังองค์กร
ผู้บริหารสถาบัน
คณะกรรมการสถาบัน
ผลงานสถาบันฯ
สมาคมการค้า
พันธมิตร
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
ประกาศ จัดซื้อ-จัดจ้าง
หน้าแรก
/
THTI Activities
/
กสอ. ร่วมกับสถาบันฯสิ่งทอ เปิดตัวฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย Thailand Textiles Tag คาดสร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งทอไทยไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท
กสอ. ร่วมกับสถาบันฯสิ่งทอ เปิดตัวฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย Thailand Textiles Tag คาดสร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งทอไทยไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท
30.06.2563 |
จำนวนผู้เข้าชม 1380
กรุงเทพฯ 30 มิถุนายน 63 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดกิจกรรมแถลงข่าว เปิดตัวฉลากพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย Thailand Textiles Tag เพื่อสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ตั้งเป้านำร่องเฟสแรกพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่น้อยกว่า 50 ราย หวังสร้างมูลค่าเพิ่มฟื้นฟูสิ่งทอไทย ไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท พร้อมสร้างการรับรู้ตราสัญลักษณ์ โดยได้รับเกียรติจากน้องบิ๊นท์
สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ นางสาวไทย 2562
และ มิสอินเตอร์เนชั่นแนล 2019 ร่วมรณรงค์เชิญชวน ไทยใช้สินค้าไทย ไทยใช้สิ่งทอไทย
นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นที่ปรึกษา พร้อมจัดประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ Thailand Textiles Tag เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของเนื้อผ้า ความคงทนของสี และความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัล คือ นายพิเชษฐ์พล ไทยประสงค์ นักออกแบบอิสระ โดยตราสัญลักษณ์ Thailand Textiles Tag หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้และกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (Made in Thailand)โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของสินค้ายึดตามหลักสากล ได้แก่
- เส้นด้ายที่ผลิตในประเทศไทย (Yarn Forward) หมายถึง กรณี ผู้ประกอบการซื้อเส้นใยแล้วนำมาผ่านกระบวนการปั่นเป็นเส้นด้ายในประเทศไทย
- ผ้าผืนที่ผลิตในประเทศไทย (Fabric Forward) หมายถึง กรณี ผู้ประกอบการซื้อเส้นด้ายแล้วนำมาผ่านกระบวนการทอ หรือ ถัก เป็นผ้าผืนในประเทศไทย รวมถึงผ่านกระบวนการฟอก ย้อม พิมพ์ และตกแต่งสำเร็จในประเทศไทยด้วย
พร้อมกันนี้ กสอ. มีแนวทางส่งเสริมศักยภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยให้มีคุณภาพตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 50 ราย เพื่อขอรับฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย รวมทั้งส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เกิดความต้องการใช้และเกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย ภายใต้ฉลาก Thailand Textiles Tag นายเจตนิพิฐ กล่าว
โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของไทยอยู่ในสภาวการณ์ชะลอตัว ตลาดส่งออกแข่งขันค่อนข้างสูง มีการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่การผลิตสินค้าดังกล่าวสำหรับการใช้ในประเทศก็มีปริมาณมากเช่นกัน สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนเมษายน 2563 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 377.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 24.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคาดว่าภายหลังการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรอง Thailand Textiles Tag จะสามารถกระตุ้นการค้าให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของไทย พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มฟื้นฟูสิ่งทอไทย ไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท
Print this
สิ่งทอ,สิ่งทอ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ให้การต้อนรับ คณะผู้ประกอบการ SMEs
ย้อนกลับ
ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือก ภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ปีงบประมาณ 2563
ถัดไป
THTI Activities
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผนึกพลัง 19 พันธมิตรจัดงาน ANTEX Asia 2024 สุดยิ่งใหญ่
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอทำบุญครบรอบ 28 ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 29
สถาบันฯสิ่งทอให้การต้อนรับ ม.ธรรมศาสตร์ เยี่ยมชมสถาบันฯ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชี้ "นอนวูฟเวน" ในตลาดโลกสุดบูม! ไทยขึ้นแท่นผู้นำตลาดในภูมิภาค
สถาบันฯสิ่งทอให้การต้อนรับ คณะเยี่ยมชมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันฯสิ่งทอ ร่วมงาน TRIUP FAIR 2024