ค้นหา
กรุณา พิมพ์สิ่งที่ท่านต้องการค้นหาที่นี่ค่ะ
ค้นหา
ปิด
TH
บริการ THTI
วิเคราะห์ทดสอบ
ฝึกอบรม
วิจัยพัฒนาเชิงพาณิชย์
ข้อมูลดิจิตอล
งานจัดแสดงสินค้า
โปรโมชั่นบริการ
นวัตกรรม
All
ECO Textile
Protective Textile
Medical Textile
Sportswear
THTI Activities
THTI Insight
วารสาร
องค์ความรู้
เทคโนโลยีสิ่งทอ
ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม
ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก
ข่าวรายวัน
เกี่ยวกับ THTI
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ความเป็นมา
แผนผังองค์กร
ผู้บริหารสถาบัน
คณะกรรมการสถาบัน
ผลงานสถาบันฯ
สมาคมการค้า
พันธมิตร
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
ประกาศ จัดซื้อ-จัดจ้าง
หน้าแรก
/
THTI Activities
/
สถาบันฯสิ่งทอ ผนึก 5 สถาบันการศึกษาลงนาม MOU ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น Center of Textile & Fashion Excellence : CTE
สถาบันฯสิ่งทอ ผนึก 5 สถาบันการศึกษาลงนาม MOU ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น Center of Textile & Fashion Excellence : CTE
03.12.2562 |
จำนวนผู้เข้าชม 1341
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ลงนาม
MOU ภายใต้ CTE กระชับความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ เผชิญความท้าทายรองรับการปรับเปลี่ยนในยุคดิจิทัล
3 ธ.ค.62 นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
เปิดเผยว่า จากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่หมุนเร็วภายใต้ยุคดิจิทัล ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องฝ่าด่านความท้าทายและต้องเร่งปรับตัว คณะกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ หน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้หารือเพื่อหาแนวทางพัฒนาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและสถาบันการศึกษา โดยจัดตั้ง
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น (
Center of Textile & Fashion Excellence : CTE) ภายใต้งบประมาณกองทุนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมลงนามความร่วมมือกับ 5 สถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย
ศูนย์นวัตกรรมแฟชั่น ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ
(FTCDC)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คณะคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี และ
คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ในทุกมิติให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
กล่าวว่า สำหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น หรือCTE ถือเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ หรือ Co-operative center เพื่อทำงานร่วมกันระหว่าง สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันการศึกษาทั้ง 5 หน่วย มุ่งเน้นพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ (
Human Resource) วิจัยพัฒนา(R&D) และการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
ภายใต้กรอบความร่วมมือ คือ ร่วมกันพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นไทย ร่วมกันจัดกิจกรรม อบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดประสบการณ์ และกระจายความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งทอและแนวโน้มการพัฒนาสิ่งทอในอนาคต ร่วมจัดประชุมวิชาการเฉพาะทางด้านสิ่งทอและแฟชั่น ในระดับในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับการนำงานวิจัยทางด้านสิ่งทอและแฟชั่นสู่สากล ร่วมกันจัดวารสารทางวิชาการนานาชาติที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น เพื่อเป็นโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาทำการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สากล และความร่วมมือในการวิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น
(Center of Textile & Fashion Excellence : CTE)สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492 – 9 ต่อ 710 หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่
Facebook Fanpage : CTE Center of textile & Fashion Excellence และ www.thaitextile.org
ด้านสถานการณ์ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยสะสม 10เดือน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.7 ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอการส่งออกมีมูลค่า 3.7พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงร้อยละ 6.7 ขณะที่กลุ่มเครื่องนุ่งห่มการส่งออกมีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการขยายตัวของตลาดหลักอย่างสหรัฐฯที่ร้อยละ 8.7 หรือมีมูลค่า 796.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงสุด 3อันดับ ได้แก่ Brassieres,สูท (ของบุรุษหรือเด็กชาย),Sweatersและ T-Shirt ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขณะที่สถานการณ์สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP สำหรับสินค้านำเข้าจากไทยจำนวน 573 รายการ มูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯนั้น สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มที่ถูกประกาศระงับสิทธิ์ประกอบด้วยสินค้าในพิกัด 5702,5703,6116,6117,6204,6216,6217 และ 6307 มูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯสะสม 8เดือน เท่ากับ 32.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาผลกระทบที่ได้รับโดยพิจารณาจากสถานการณ์ สินค้าส่งออกหลักและแต้มต่อทางภาษี คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มจะได้รับผลกระทบจากการประกาศระงับสิทธิ์ GSP ในครั้งนี้เพียงเล็กน้อย
Print this
CTE,THTI,สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ,MOU
นักออกแบบภาคเหนือELFC2019สุดเจ๋งคว้าแชมป์ประกวดออกแบบแฟชั่นระดับโลก
ย้อนกลับ
ก.อุตสาหกรรมหนุนงบสถาบันฯสิ่งทอ พัฒนาผ้าทออีสานต่อเนื่อง หวังสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าทอและสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์อีสานเติบโตในตลาดกำลังซื้อสูง
ถัดไป
THTI Activities
ดีพร้อม จัดอบรมหลักสูตร “การออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ” ขนทัพ UpSkill ReSkill โครงการ Soft Power สู่ชุมชน บ้านไหมทองสะเร็น จ.สุรินทร์
ดีพร้อมเปิดอบรม “การออกแบบจิวเวลรี่เบื้องต้นสร้างนักออกแบบ”
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผนึกพลัง 19 พันธมิตรจัดงาน ANTEX Asia 2024 สุดยิ่งใหญ่
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอทำบุญครบรอบ 28 ปี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 29
สถาบันฯสิ่งทอให้การต้อนรับ ม.ธรรมศาสตร์ เยี่ยมชมสถาบันฯ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชี้ "นอนวูฟเวน" ในตลาดโลกสุดบูม! ไทยขึ้นแท่นผู้นำตลาดในภูมิภาค